วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 2 ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง


บทที่ 2 ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง

สาระสำคัญ
    ภายในตัววเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย อุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ กล่องแห่งจ่ายไฟ, แผ่นเมนบอร์ด,ตัวขับแผ่นดิสก์,ฮาร์ดิสก์, ตัวขับแผ่นซีดีหรือดีวีดี และอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ได้แก่ ซีพียู แผงหน่วยความจำ และการ์ดควบควมต่าง ๆ โดยทุกส่วนเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานของเครื่อง จึงควรศึกษารายละเอียดและแยกความแตกต่าง เพื่อให้สามารถเบือกซื้อและใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

เรื่องที่จะศึกษา
- องค์ประกอบภายในตัวเครื่อง
- ส่วนประกอบต่าง ๆ บนแผ่นเมนบอร์ด 
- ช่องต่อสายบนแผ่นเมนบอร์ด
- ช่องต่อด้านหลังของเครื่อง

จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. สามารถบอก ส่วนประกอบภายในตัวเครื่องได้ถูกต้อง
  2. สามารถบอกชื่อ และให้รายละเอียดต่าง ๆ ของส่วนประกอบบนแผ่นเมนบอร์ดได้
  3. สามารถบอกรายละเอียดของช่องต่อต่าง ๆ บนแผ่นเมนบอร์ดได้
  4. สามารถบอกรายละเอียดของช่องต่อด้านหลังได้
  5. สร้างความสามัคคี และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม

เมนบอร์ด (Main Board)
    เมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลักที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การจะให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้นั้นต้องติดตั้งหรือเชื่อมต่อสายเข้ากับเมนบอร์ด แม้แต่ซีพียูก็ต้องติดตั้งเข้ากับเมนบอร์ดถูกผลิกออกมาเพื่อใช้กับซีพียูต่างรุ่นต่างแบบ และยังมีผู้ผลิตหลายรายด้วยกัน เช่น   ASUS,  ECS,  GIGABYTE, CHAINTECH,  MSI,  ABIT,  INTEL  เป็นต้น  เนื่องจากเมนบอร์ดมีจุดที่จะต้องต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ  เข้าไป  ดังนั้นจึงต้องดูรายละเอียดที่สำคัญๆ  บนเมนบอร์ด  ดังนี้

เมนบอร์ด (Main Board)


AGP Slot (Accelerator Graphic Port)
     เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล  หรือการ์ดจอเท่านั้น  สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาลตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อตพีซีไอ  และอยุ่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู  เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผลก็เนื่องจากระบบบัสแบบ  PCI  ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้นไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน  ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆอย่างเช่น  เกมส์สามมิติ  โปรแกรมกราฟฟิก  ประเภทสามมิติ  ออกแบบบัสแบบเอจีพีหรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น  ซึ่งมีข้สังเกตๆง่ายคือ 2X 4Xและล่าสุด 8X  ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น


AGP Slot (Accelerator Graphic Port)


BIOS (Basic Basic Input Output) 
    เป็น  CHIP   IC  ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด  ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์  ซีดีรอมซีดีไดรฟ์ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกคนที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออสจะเริ่มตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  เช่น  การทำงานของ  เมนบอร์ด  ฮาร์ดดิสก์  แรม  การ์ดจอ  คีย์บอร์ด  ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า  Power  on  Self Test  (Post)  ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ  นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อคอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์  หรือระบบปฏิบัติการอื่นที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย  ในรูปเป็นไบออสของ  AIM  ไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน  เช่น  AWARD,  PHOENIX,  COMPAQ,
IBM  ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้างในเครื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส 
รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ดที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้ง
อยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่งเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด


BIOS (Basic Basic Input Output) 


CPU  Socket
    ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด  เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ  Pentium  4 และ Canceler  จะเรียกซอคเก็ตSOCKET  478  ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู  AMD  นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ  SOCKET  462  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  SOCKET  A  จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนช็อคเก็ต  ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์คที่มุมของซ็อคเก็ต  ถ้าเป็นซ็อคเก็ต  478   จะมีรอยมาร์คอยุ่ที่มุมหนึ่งด้าน  ส่วนซ็อคเก็ต  462  จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน  โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู  เพื่อให้ติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง


CPU  Socket

  ขั้วต่อสายไฟ  ( ATX  Power  Connector)
    ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด  ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ  ATX  โดยที่เพาเวอร์ซัพพลายจะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด  และด้านหนึ่งของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ  ป้องกันไม่ให้สายไฟหลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย


ขั้วต่อสายไฟ  ( ATX  Power  Connector)

คอนเน็คเตอร์
    คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ  Disk  Drive  ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง  ซึ่งก็เพียงพอต่อการใช้งาน  เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วยใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดรฟ์เท่านั้น  จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า  FLOPPY  หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็ตัวย่อว่า FDD  พิมพ์กำกับอยู่  ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี  Pin  หรือเข็มอยู่  33  อัน  โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า  PIN  1  พิมพ์กำกับอยู่ด้วย  เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับคอนเน็เตอร์จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง  PIN  1


คอนเน็คเตอร์

IDE  Connector
    เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ   IDE  รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดรฟ์อ่านเขียนข้อมูล  เช่น  ซีดีรอม  ดีวีดี  ซิพไดรฟ์  โดยเมนบอรืดจะมีคอนเน็คเตอร์  IDE  อยู่สองชุดด้วยกัน  เรียกว่า  IDE  1 กับ IDE  2  แต่ละคอนเน็คเตอร์จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น  ซึ่งหมายถึงจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ตัว  โดยอาจจะเป็นฮาร์ดดิสืกสองตัวกับไดรฟ์ CD-RW  และไดรฟ์  DVD  อีกอย่างละหนึ่ง  เช่นเดียวกับ  FDD  Connector  ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ  PIN  1  เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง  แต่  IDE  Connector  จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ  39  พินIDE  Connector เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ   IDE  รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดรฟ์อ่านเขียนข้อมูล  เช่น  ซีดีรอม  ดีวีดี  ซิพไดรฟ์  โดยเมนบอรืดจะมีคอนเน็คเตอร์  IDE  อยู่สองชุดด้วยกัน  เรียกว่า  IDE  1 กับ IDE  2  แต่ละคอนเน็คเตอร์จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น  ซึ่งหมายถึงจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ตัว  โดยอาจจะเป็นฮาร์ดดิสืกสองตัวกับไดรฟ์ CD-RW  และไดรฟ์  DVD  อีกอย่างละหนึ่ง  เช่นเดียวกับ  FDD  Connector  ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ  PIN  1  เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง  แต่  IDE  Connector  จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ  39  พิน

IDE  Connector

PCI  Slots  (Peripherals component interconnect)
    สล็อตพีซีไอ  เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม  เช่น  ติดตั้งการ์ด  SCSI  การ์ดเสียง  การ์ดเน็ตเวิร์ค  โมเด็มแบบ  Internal  เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม  แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อคพีซีไอโดยใช้สีแตกต่าง  เช่น  สีน้ำเงิน   เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ  VL  ซึ่งทำงานได้ช้าการติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก  เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์  แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ Plug  and  play  ที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่าอุปกรณ์บางอย่าง  เช่น  การ์ดเสียง เมื่อติดตั้งแล้วโอเอสจะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น  อนึ่ง สล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  PCI  Bus  ซึ่งหมายถึงเส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง  โดยบัสแบบพีซีไอจะทำงานในระบบ  32 บิต 

PCI  Slots 

  RAM Sockets
    เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป  เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน  บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง  บางรุ่นมีสาม  บางรุ่นมีสี่  จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้เพิ่มแรมได้มากขึ้น  ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกตามชนิดของแรมด้วย  ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ  DDR  จะมีรอยมาร์คอยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง  ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม


  RAM Sockets

  System  Panel  Connector
    จากรูปจะสังเกตเห็นกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม  สำหรับ  System  panel  นั้นเป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง  (Power  Switch)  สายไฟปุ่นรีเซต  (Reset  Switch)  ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์  (HDD LED)  ลำโพงภายในตัวเครื่อง  (Speaker)  และสวิตซ์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด  (Keyboerd  Lock)  โดยสวิตซ์หรือสายไฟหลาวนี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ  System  panel  สวิตซ์เปิดเครื่องหรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก้จะไม่ติด


  System  Panel  Connector

 PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard  Port 
    เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อสายเมาส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์   โดยเรียกว่าพีเอสทูเมาส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด  ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู  แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู  ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเมาส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย  การเสียบสายเมาส์และคีบอร์ดเข้าไปต้องระวังให้เข็มตรงกับรู  สำหรับพอร์ตเมาส์และคีบอร์ดนั้นจะใช้  Color Key  แสดงเอาไว้สีเขียวสายต่อเมาส์  สีน้ำเงินคือสายต่อคีย์บอร์ด  นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตอีกประการหนึ่งคือเมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส  ที่เคสจะมีลักษณ์รูปเมาส์กับรูปคีย์บอร์ดติดอยุ่  เพื่อให้ต่อสายเมาส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง
 USB Port (Universal Serial Bus)
    พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี  เช่น  พรินเตอร์  สแกนเนอร์  กล้องดิจิตอล  ซีดีรอมไดรฟ์  ซิพไดรฟ์  เป็นต้น  เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0  ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม  เมื่อต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง  ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า  หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ตยูเอสบี 2.0  เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ


PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard  Port 

Parallel  Port
    พอร์ตพาราลเลล  เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู  25  รู   สำหรับต่อสายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราลเลล  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า  บางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต  โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราลเลลจะมีกับเครื่องพรินเตอร์รุ่นเก่า  หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป


Parallel  Port


Serial Port 
    พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่  9  ขา  เรียกว่าคอมพอร์ต  (COM  Port)  เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็มเมาส์  หรือจอยสติ๊ก  ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น  เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ  USB  เป็นส่วนใหญ่


Serial Port 


Video  Port 
    พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพกับจอคอมพิวเตอร์  ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู  15 รู  สำหรับพอร์ตนี้จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย  (VGA  On board)


Video  Port 

  IEEE 1394 Port
    เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  Fire  Wire (บริษัท  โซนี่เรียกว่า  I-Link) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกชนิดหนึ่ง  ซึ่งก็มีในเมนบอร์ดบางรุ่นพอร์ตนี้จะใช้สำหรับต่อพ่วงกับสแกนเนอร์  กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์  กล้องดิจิตอลวีดีโอ  ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ  Fire Wire  โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต่อกับดิจิตอลวีดีโอ  เนื่องจากการที่สามารถควบคุมการทำงานของกล้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตร
  Line in /  Line out / Microphone  jack
    สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่  การ์ดเสียงจะถูกรวมเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย  ที่เรียกกันว่า  Sound on Board จุดสังเกตก็คือที่เมนบอร์ดจะมีช่องสำหรับต่อไมโครโฟน  ลำโพง  แล้วก็เครื่องเล่นเทป  ทำให้ไม่ต้องซื้อการ์ดเสียงเพิ่ม  อย่างไรก็ดี  ถ้าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่า  หรือต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับการทำดนตรีหรืองานตัดต่อวีดีโอ  ควรติดตั้งการ์ดเสียงเพิ่ม


Video  Port 

ส่วนประกอบต่าง ๆ บนแผ่นเมนบอร์ด 


1.ซ็อกเก็ตซีพียู

    ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่  ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย



2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ

    ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ภายนอก  ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง


1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด  โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว  และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก



2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า  ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล  400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก

3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน
4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ  แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย  อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน  ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง  ทั้งไมค์
3.สล็อต์ AGP 

ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล  มีทั้ง AGP และ PCI Express  เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล

4.สล็อต PCI 

ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง  การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ 



5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์ 

ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม

6.ซิปเซต

ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ  เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด  โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ

-   North  Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
-   South  Bridge  จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ
7.หัวต่อ SATA 

ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์  แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม  ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่  อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย

8.หัวต่อแบบ IDE

ใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM

9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ

ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว

10.ซ็อกเก็ตแรม

โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุมใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์    และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USBใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส  เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น