วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 3 การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

บทที่ 3 การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

สาระสำคัญ
    การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องยากลำบากแต่อย่างใดเพียงแต่มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิความรวเตอร์ และมีความละเอียดรอบคอบในการทำงานก็สามารถประกอบเครื่องได้ เพราปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีความเป็นมาตรฐาน และสะดวกต่อการประกอบใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม

เรื่องที่จะศึกษา
- การเลือกอุปกรณ์ในการประกอบเครื่อง
- ข้อแนะนำในการเลือกซื้ออุปกรณ์จากร้านค้า
- ขั้นตอนการประกอบเครื่อง
- การอ่านคุณลักษณะของเครื่อง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สามารถเลือกอุปกรณ์ในการประกอบเครื่องได้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้
2. บอกข้อแนะนำในการเลือกซื้ออุปกรณ์จากร้านค้าได้
3. ฝึกปฏิบัติ การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
4. สามารถอ่านคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากเอกสารประชาสัมพันธ์สินค้าได้
5. ฝึกเอาความรอบคอบในการทำงานและการทำงานเป็นกลุ่ม


ส่วนประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
     เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดจากการประกอบกันของอุปกรณ์ต่างๆมากมาย  ทั้งในส่วนภายในเครื่อง  และในส่วนที่อยู่ภายนอกเครื่องไม่ว่าจะเป็นซีพียู,แรม,การ์ดแสดงผล(การ์ดจอ), ฮาร์ดดิสก์เมาส์จอภาพ,
คีย์บอร์ด  ฯลฯ  ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่และความสำคัญแตกต่างกันไป

ส่วนประกอบภายในเครื่อง

ส่วนประกอบภายอกเครื่อง

ซีพียู  (CPU)
จอภาพ (Monitor)
เมนบอร์ด (Mainboard)
คีย์บอร์ด (Keyboard)
หน่วยความจำ (Memory)
เมาส์ (Mouse)
การ์ดแสดงผล (Monitor Card)
โมเด็ม (Modem)
การ์ดเสียง (Sound Card)
ลำโพง (Speaker)
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (Floppy Disk Drive)
เครื่องพิมพ์ (Printer)
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

ซีดีรอม (CD-ROM Drive)

เคสและเพาเวอร์ซัพพลาย
(Case and Power Supply)


ซีพียู  ( CPU : Central Processing Unit )
                ซีพียู  คือ ส่วนประกอบที่มีความสำคัญที่สุด  เปรียบเสมือนมันสมองของคอมพิวเตอร์  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในประมวลผลข้อมูลและควบคุมการทำงานของระบบ  ความเร็วในการทำงานของซีพียูจะมีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHz) เช่น 133 MHz , 166 MHz , 500 MHz , 600 MHz เป็นต้น  ความเร็วในที่นี้ก็คือ  ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่มีแหล่งกำเนิดมาจากส่วนที่เรียกว่า  คล็อก (Clock) สัญญาณนาฬิกานี้จะทำให้ตัวซีพียูและระบบทั้งหมดสามารถทำงานได้ สรุปได้ว่าความถี่ของสัญญาณนาฬิกานี้เป็นตัวบอกถึงความเร็วในการทำงานของระบบ ถ้าความเร็วของสัญญาณนาฬิกาสูงซีพียูก็จะทำงานได้เร็ว เปรียบได้กับรถที่มีแรงม้ามากกว่าย่อมวิ่งได้เร็วกว่ารถที่มีแรงม้าน้อยๆ
                บริษัทที่ผลิตซีพียูที่ใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายบริษัท แต่ที่มีขายอยู่ในตลาดบ้านเรามักจะมาจาก ค่ายหลัก ได้แก่ อินเทล  เอเอ็มดี และไซริกซ์
 อินเทล (Intel) คือ บริษัทเก่าแก่ที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตซีพียู ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและยาวนานที่สุด เริ่มตั้งแต่รุ่น 8088, 80286, 80386, 80486, เพนเทียม (pentium),
เพนเทียม เอ็มเอ็มเอ็กซ์ (pentium mmx), เพนเทียมโปร (pentium pro) จนกระทั่งล่าสุด คือ เพนเทียม ทรี (pentium 3)
                เอเอ็มดี (AMD) เป็นบริษัทคู่แข่งที่สำคัญของอินเทล ปัจจุบันซีพียูจากค่ายเอเอ็มดีมีประสิทธิภาพสูงมากจนเป็นที่ยอมรับของตลาดบ้านเราแล้ว และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซีพียูจากเอเอ็มดี เช่น K5, K6,และวีพียูรุ่นล่าสุด คือ K7
                ไซริกซ์ (Cyrix) ปัจจุบันยังได้รับความนิยมน้อยอยู่เมื่อเทียบกับซีพียูจากเพนเทียมและ
เอเอ็มดี แต่ก็เป็นซีพียูที่มีราคาถูกและมีคุณภาพใช้ได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการซีพียูราคาถูก ซีพียูจากไซริกซ์ เช่น 6X86, 6X86L,6X86ML
               อินเตอร์เฟส (Interface) ของซีพียู
                อินเตอร์เฟสของซีพียู หมายถึง สล็อต (Slot) ที่ใช้ในการติดตั้งหรือถอดซีพียูออกจากเมนบอร์ด มันเป็นอุปกรณ์ที่ติดมากับตัวเมนบอร์ด ทั้งสล็อตมีอยู่หลายแบบ แต่ละแบบก็จะมีไว้สำหรับซีพียูที่มีอินเตอร์เฟสตรงกับมันเท้านั้น
                เราสามารถแบ่งซีพียูได้ออกเป็น ชนิด คือ ซีพียูที่มีลักษณะเป็นซิปกับซีพียูที่มีลักษณะเป็นการ์ดซ๊พียูแบบซิปก็จะติดตั้งบนล็อกเก็ต ส่วนซีพียูแบบการ์ดก็จะติดบนสล็อต
                นอกจากนี้ทั้งสล็อตและซ็อคเก็ตมีหลายชนิด เนื่องจากมีการสร้างซีพียูที่แตกต่างกันออกไป เช่น   
·       ซิปซีพียู AMD K6 มี 321 ขา ก็จะใช้กับ Socket 7
·       ซิปซีพียู Pentium Pro มีขา 387 ขา ก็จะใช้กับ Socket 8
·       ซิปซีพียู Cyrix M II มีขา 370 ขา  ก็จะใช้กับ Socket 370
·       การ์ดซีพียู Pentium II ก็ต้องเลือกเมนบอร์ดแบบ Slot I
·       การ์ดซีพียู AMD K7 ก็ต้องเลือกเมนบอร์ดแบบ Slot A
ดังนั้นการเลือกซื้อเมนบอร์ด  เราต้องเลือกเมนบอร์ดที่มีสล็อตหรือซ็อคเกตชนิดเดียวกับ
ซีพียูที่จะใช้  ถ้าหากเราซื้อเมนบอร์ดที่มีสล็อตหรือซ็อคเกตที่ไม่รองรับกับซีพียู  เราก็จะไม่สามารถติดตั้งซีพียูลงบนเมนบอร์ดได้เลย  เช่น ถ้าเราซื้อซีพียู AMD K7 กับเมนบอร์ดแบบ Slot I เราจะติดตั้ง K7  ลงบนเมนบอร์ดนี้ไม่ได้เลย  ดังนั้นเราเราจะต้องเลือกซื้อเมนบอร์ดที่มี Slot A  สำหรับติดตั้ง K7  เท่านั้น

ปัจจัยในการเลือกซื้อซีพียู

1.       เราจะต้องรู้ว่าจะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานอะไร  แล้วถึงจะมากำหนดว่าจะใช้ซีพียูชนิดใดความเร็วเท่าไหร่  จึงจะเหมาะสมกับการประมวลผลของเรามากที่สุด  ถ้าเราซื้อซีพียูประสิทธิภาพสูงมาใช้  แต่กลับนำมาใช้งานพื้นฐานธรรมดาที่ไม่ได้มีความสามารถที่ซีพียูเหล่านั้นทำได้  ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
2.       ราคาต่อประสิทธิภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ  เพราะซีพียูยี่ห้อต่างกัน  ความเร็วในหน่วยเมกกะเฮิรตซ์ไม่เท่ากัน  แต่อาจจะมีประสิทธิภาพเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน  เนื่องจากซีพียูแต่ละยี่ห้อจะมีโครงสร้างการทำงานภายในซีพียูแตกต่างกัน  ทำให้ความเร็วในการทำงานแตกต่างกัน
3.       ควรเลือกซีพียูที่มีหน่วยความจะแคชมากๆ  เพราะสามารถลดปัญหาคอขวดอันเกิดจากความเร็วของหน่วยความจำหลักต่ำกว่าความเร็วของแคชมากๆ

เมนบอร์ด (Mainboard)

คุณสมบัติที่สำคัญของเมนบอร์ด

                สิ่งที่สำคัญที่สุดของเมนบอร์ด คือ เรื่องของเสถียรภาพในการทำงาน  ถ้าเมนบอร์ดใดมีเสถียรภาพไม่ดีก็จะทำให้เครื่องแฮงค์บ่อย  โดยเฉพาะเมื่อใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ แต่เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะไม่ค่อยพบกับปัญหาเรื่องเสถียรภาพนี้  เพราะได้พัฒนามาอยู่ในระดับมาตรฐานใกล้เคียงกัน

ชิปเซ็ต

                ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ  ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของเมนบอร์ด  ชิปเซ็ตเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเมนบอร์ดแต่ละตัว


การจัดวางตำแหน่งของอุปกรณ์

                เมนบอรดที่ดีต้องทีการจัดวางอุปกรณ์แต่ละตัวให้สอดคล้องกับการทำงานให้มากที่สุด
เช่น การวางแรมใกล้กับซีพียู  เพื่อลดระยะทางในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับแรม  การวาง
Slot ต่างๆให้สามารถใส่การ์ดได้สะดวก เป็นต้น

ชนิดของเมนบอร์ด

                เมนบอร์ดมี แบบ คือ แบบ AT และแบบ ATX  เมนบอร์ดแบบ ATX ได้พัฒนาในเรื่องการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ดให้มีความเหมาะสมกับการทำงาน  และการวางซีพียูใกล้กับเพาเวอร์ซัพพลาย  เพื่อช่วยระบายความร้อนให้กับซีพียู  และยังนำพอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนานมาไว้บนเมนบอร์ดอีกด้วย  ทำให้เมนบอร์ดรุ่นนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  และทำให้เมนบอร์ดแบบ AT เกือบหมดไปจากตลาด

ข้อดีของเมนบอร์ดแบบ ATX
1.       ตำแหน่งของแรมอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซีพียูมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2.       พอร์ตต่างๆไม่ว่าจะเป็นพอร์ตอนุกรมพอร์ตขนานพอร์ต PS/2  สำหรับคีบอร์ดและเมาส์  พอร์ต USB จะถูกติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดเลย  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  เพราะไม่ต้องใช้สายสัญญาณต่อ
3.       การติดตั้งการ์ดและแรมก็ทำได้ง่ายขึ้น  เพราะมีการวาง Slot สำหรับการ์ดในตำแหน่งที่ไกลจากตำแหน่งของ Socket ของแรมมาก
4.       สามารถใส่การ์ดที่มีขนาดยาวได้  เพราะไม่มีอุปกรณ์ใดๆ กีดขวาง
5.       พอร์ตควบคุมฟล็อปปี้ดิสก์และฮาร์ดดิสก์อยู่ใกล้กับตำแหน่งของไดรว์ทำให้ติดตั้งได้ง่ายไม่ต้องลากสายสัญญาณไปไกล
6.       การะบายความร้อนดี เพราะตำแหน่งที่ติดตั้งซีพียูจะอยู่ใกล้กับพัดลมของเพาเวอร์ซัพพลาย

ปัจจัยในการเลือกซื้อเมนบอร์ด

1.       ต้องซื้อเมนบอร์ดที่มีซ็อคเก็ตตรงกับชนิดของซีพียู เช่น ถ้าใช้ซีพียู K7 ก็ต้องซื้อเมนบอร์ดที่มีซ็อคเก็ตแบบSlot A  หรือถ้าซื้อซีพียู Pentium II ก็ต้องซื้อเมนบอร์ดที่มีซ็อคเก็ตแบบ Slot I
2.       ชิปเซ็ตที่อยู่บนเมนบอร์ดสนับสนุนการทำงานในเรื่องใดบ้าง  เพราะชิปเซ็ตจะเป็นตัววัดถึงประสิทธิภาพของเมนบอร์ด
3.       เมนบอร์ดสามารถรองรับแรมสูงสุดได้เท่าไหร่
4.       ในปัจจุบันการ์ดต่างๆมักทำงานกับสล็อต PCI  ดังนั้นควรเลือกเมนบอร์ดที่มีสล็อต ISA น้อยๆ
5.       ควรเลือกเมนบอร์ดที่มีความเร็วบัสและตัวคูณหลายๆค่า  เพื่อสะดวกในการอัพเกรด  หรืออาจเลือกเมนบอร์ดที่ใช้ Soft Menu ซึ่งสามารถเปลี่ยนความเร็วผ่านทางซอฟต์แวร์  แทนการปรับเปลี่ยนจัมเปอร์หรือดิพสวิตซ์  ทำให้สะดวกในการอัพเกรด
6.       ยี่ห้อของเมนบอร์ดที่น่าสนใจได้แก่ Asus, Aopen, ABIT, Gigabyte, Intel, TyanMatsonic เป็นต้น

หน่วยความจำแรม  (RAM : Random Access Memory)
                แรม คือส่วนประกอบที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้ในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์  แรมทำหน้าที่เก็บข้อมูลชั่วคราวเพื่อรอส่งให้กับซีพียูทำการประมวลผลต่อไป  แรมจะเก็บข้อมูลเหมือนกับฮาร์ดดิส  แต่การทำงานของแรมจะเร็วกว่าและไม่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร  แรมจะเก็บข้อมูลได้ในขณะเปิดเครื่องเท่านั้น  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะหายไป 

ปัจจัยในการเลือกซื้อแรม

1.       ควรเลือกแรมที่มีระยะเวลาในการเข้าถึงหน่วยความจำน้อย
2.       ความเร็วในการทำงานของแรม

ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์  (Floppy Disk Drive)
                ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์  เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์หรือดิสก์เก็ต  แผ่นดิสก์มีขนาดเล็กเพียง 3.5 นิ้ว บรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์  มีราคาถูก  สะดวกในการเก็บข้อมูลหรือเคลื่อนย้ายไฟล์ขนาดเล็กจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  อีกทั้งยังใช้ทำแผ่นบูต(Boot)เครื่องได้  ทำให้ฟล็อปปี้ดิสก์ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
                ฮาร์ดดิสก์  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ สำหรับเก็บข้อมูลแบบถาวร  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็ยังคงอยู่ไม่สูญหายไป  ฮาร์ดดิสก์มีรูปแบบเป็นการเชื่อมต่อหรือเรียกว่า  การอินเตอร์เฟสมีอยู่ รูปแบบ คือ
E-IDE และ SCSI โดยการอินเตอร์เฟสแบบ E-IDE  ได้รับการพัฒนาต่อจากฮาร์ดดิสก์แบบ  IDE เนื่องจากฮาร์ดดิสก์แบบเดิมนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของความจุคือ มีความจุเพียง 528 MB แต่ฮาร์ดดิสก์แบบ E-IDE สามรถจุข้อมูลได้มากถึงระดับกิกะไบต์ขึ้นไป  ส่วนฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI จะมีราคาแพงและมีการติดตั้งที่ยุ่งยากมาก  แต่ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลแบบ IDE ซึ่งจะเหมาะกับเครื่องในระดับเซิร์ฟเวอร์มากกว่า

ปัจจัยในการเลือกฮาร์ดดิสก์

1.       ขนาดความจุจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการใช้งาน  แต่ที่เป็นมาตรฐานอยู่ในขณะนี้คือ 4.3
กิกะไบต์
2.       ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ควรเลือกมาตรฐานการส่งผ่านข้อมูลชนิด Ultra DMA/66
3.       ความเร็วในการหมุนแผ่นจานแม่เหล็กหรือความเร็วรอบ (RPM) มี ระดับให้เลือกคือ 5400, 7200 RMP
4.       หน่วยความจำบัฟเฟอร์ (Buffer) มี แบบ คือ 512K, 2MB
5.       การรับประกัน (Warranty) ควรเลืกแบบที่มีการรับประกัน ปี
6.       ยี่ห้อของฮาร์ดดิสก์  ได้แก่  IBM, Maxtor, Quantum, Seagate, Westerm

ซีดีรอมไดรว์ CD-ROM Drive )
                ซีดีรอมไดรว์  ได้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันไปแล้ว เนื่องจากแผ่นซีดีรอมนั้นสามารถบันทึกข้อมูลได้ในปริมาณมากและมีราคาถูก  ซีดีรอมไดรว์มีให้เลือกติดตั้งทั้งภายในและภายนอก  สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อก็จะมีทั้งแบบ IDE และแบบ SCSI เช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์  เครื่องซีดีรอมแบ่งออกได้เป็น 2ชนิด คือ ชนิดอ่านอย่างเดียว คือ ซีดีรอม-ไดรว์   ทั่วไปกับซีดีรอมไดรว์ ประเภทที่ทำได้ทั้งอ่านและเขียนแผ่นซีดี  ที่เรียกว่า ซีดีอาร์ดับบลิว-ไดรว์ (CD-RW Drive)

ปัจจัยในการเลือกซื้อซีดีรอม

1.       ความเร็ว  สำหรับมาตรฐานในปัจจุบันความเร็วจะอยู่ที่ 48-50X  มีหน่วยความจำ 128-256 KB
2.       ถ้าเลือกไดรว์ชนิดดีวีดีรอม (DVD-ROM) ให้เลือกแบบที่สามารถอ่านแผ่นซีดีอาร์ได้ด้วย
3.       ซีดีรอม ที่นิยมใช้ ได้แก่ Aopen, Asus, CTX, LG, Philips, Pioneer, Sony  เป็นต้น

เคสและเพาเวอร์ซัพพลาย (Case and Power Supply)
                เคส ก็คือส่วนของตัวถังที่ใช้ห่อหุ้มอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์  เคสแบ่งออกเป็นเคสแบบแนวนอน (Desktop) และแบบแนวตั้ง (Tower) เคสที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือเคสแบบ Tower  เคสแบ่งออกเป็น ชนิด คือ เคสแบบ AT และแบบ ATX โดยเคสแบบ AT จะใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT ส่วนเคสแบบ ATX จะใช้กับเมนบอร์ดแบบ ATX เท่านั้น

ลักษณะของเคสที่ดี

1.       สามารถระบายความร้อนได้ดี
2.       มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่บางเกินไป
3.       ขอบของเคสไม่ต้องคม  เพราะจะบาดมือเวลาถอดหรือประกอบ
4.       สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้
5.       มีพื้นที่ขนาดใหญ่พอที่จะจัดการกับการ์ดบนเมนบอร์ดได้ง่าย
6.       ทำจากวัสดุที่ไม่สื่อนำไฟฟ้า
7.       สามารถเปิดด้านข้างได้  เพื่อความสะดวกในการเพื่ออุปกรณ์

เพาเวอร์ซัพพลาย  คือ แหล่งจ่ายไฟสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  มีขนาดกำลังไฟอยู่ระหว่าง 200-250 วัตต์  แต่สำหรับการใช้งานในปัจจุบันควรเลือกเพาเวอร์ที่มีกำลังไฟอย่างน้อย 230 วัตต์ขึ้นไป


การเลือกซื้อเคสและเพาเวอร์ซัพพลาย

                ส่วนมากในการซื้อเคสก็จะมีเพาเวอร์ซัพพลายติดมากับเคสด้วย  โดยปกติเพาเวอร์ซัพพลายจะมีขนาดอยู่ระหว่าง 200-250 วัตต์  แต่สำหรับการใช้งานในปัจจุบันควรเลือกเพาเวอร์ที่มีกำลังไฟอย่างน้อย 230 วัตต์ขึ้นไป  แต่เพาเวอร์ซัพพลายที่ติดมากับเคสแบบต่างๆที่จำหน่ายในราคาถูก  อาจจะไม่จ่ายไฟฟ้าได้ตามที่ระบุไว้บนตัวเพาเวอร์ซัพพลาย  ทำให้ไม่สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆได้ตามที่กำลังไฟแจ้งไว้


จอภาพ (MONITER)
                จอภาพ คือ ส่วนที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของซีพีขู ผ่านทางการ์ดแสดงผล คุณภาพของภาพที่ได้จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการ์ดแสดงผลและจอภาพประกอบกัน ในการเลือกจอภาพควรเลือกจอที่มีคุณภาพ เพราะมันคือสิ่งที่เราต้องทำงานกับมันโดยตรง ถ้าเราเลือกจอที่มีคุณภาพดีมีขนาดใหญ่พอ เป็นจอที่มีระบบป้องกันรังสีและมีการสะท้อนของแสงน้อย เราก็สามารถทำงานได้นานโดยไม่เมื่อยล้า
หลักการทำงานของจอภาพ
                ภาพที่ปรากฏบนจอภาพนั้นเกิดจากการยิงลำแสงอิเล็กตรอนของหลอดภาพไปยังผิวด้านในของจอภาพ ซึ่งจะมีสารฟอสเฟตฉาบเอาไว้ และเมื่อสารนี้โดนแสงก็จะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกมา จุดดังกล่าวนี้เราเรียกว่า พิกเซล (Pixel) สำหรับการแสดงผลได้เป็นภาพออกมาได้นั้น เกิดจากการวาดภาพบนจอภาพซ้ำหลายๆภาพใน วินาที เพื่อให้ได้ภาพที่เราเห็นในจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งการวาดภาพบนจอภาพซ้ำหลายๆภาพใน วินาที  นี้เราเรียกว่า การรีเฟรช  (Refresh)

คุณสมบัติที่สำคัญของจอภาพ

1.       ระยะด็อตพิชต์ (Dot  Pitch) คือ ระยะห่างระหว่างจุดบนจอภาพ โดยระยะห่างยิ่งน้อยภาพก็ยิ่งคมชัด ค่าของระยะด็อตพิชต์ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.24-0.28 มิลลิเมตร
2.       ความละเอียด (Resolution) คือ จำนวนของจุดหรือพิกเซลที่จอภาพสามารถนำมาแสดงผลบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมากก็จะทำให้จอภาพที่ได้มีความคมชัดขึ้น จอภาพส่วนใหญ่สามารถที่จะแสดงผลในความละเอียดได้ในหลายๆโหมด
3.       ขนาดของจอภาพ(Monitor Side) มีตั้งแต่ 14-21 นิ้วแต่ที่ใช้งานกันจะเป็นจอขนาด 14 15 และ 17 นิ้ว  ซึ่งขนาดดังกล่าวเป็นขนาดที่วัดในแนวทะแยง
4.       อัตราการรีเฟรช (Refresh Rate) คือ จำนวนครั้งในการวาดหน้าจอใหม่ใน วินาที อัตราการ
รีเฟรชต่ำสุด คือ  72 ครั้ง ใน วินาที ถ้าช้ากว่านี้ภาพจะกระพริบทำให้ผู้ใช้เกิดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อตาเมื่อทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

ปัจจัยในการเลือกจอภาพ

1.        ควรเลือกจอภาพขนาด 15 นิ้วขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพราะปัจจุบันจอภาพ 15 นิ้ว มีราคาสูงกว่าจอภาพขนาด 14 นิ้วเล็กน้อยเท่านั้น
2.        ควรเลือกจอภาพที่มีค่าระยะด็อตพิชต์ต่ำๆ เพราะจะทำให้ภาพออกมาคมชัด
3.       เลือกจอภาพที่สามารถเลือกความละเอียดได้หลายโหมด
4.       ควรเลือกแบบจอแบน เพราะภาพที่ได้จะมีสัดส่วนที่ถูกต้องเป็นธรรมชาติมากกว่าจอแบบปกติ เนื่องจากบริเวณขอบทั้ง ด้านจะเป็นเส้นตรง ซึ่งทำให้เส้นขอบยังคงตรงเป็นแนวที่ถูกต้อง ไม่นูนหรือโป่งออกเหมือนจอภาพแบบปกติ และจอแบนจะมีแสงสะท้อนน้อย เพราะจอแบนจะมีคุณสมบัติในการหักเหของแสงสะท้อนที่ตกกระทบบนจอภาพออกไปในทิศทางที่หลบออกจากสายตาผู้ใช้
5.       ตรวจดูปุ่มรับการควบคุมจอภาพต่างๆ ว่าสามารถปรับอะไรได้บ้าง ใช้งานง่ายและสะดวกหรือไม่
6.       จอภาพที่นิยมใช้ ได้แก่ ADI, CTX, LG, MAG, Panasonic,  Philips,  SONY,  SumsungViewsonic เป็นต้น

คีย์บอร์ด (Keyboard)
                คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการป้อนข้อมูลต่างๆ เข้าไป มันเป็นอุปกรณ์ราคาถูก มีตั้งแต่ราคา 200 บาท ขึ้นไป คีย์บอร์ดที่มีราคาสูงก็จะมีปุ่มฟังก์ชันการทำงานต่างๆเพิ่มเข้ามาให้มากมาย เช่น ปุ่ม Sleep  ปุ่ม Windows เป็นต้น หรืออาจจะมีการออกแบบให้มีที่วางมือ เพื่อความสะดวกในการพิมพ์งาน

เมาส์ (Mouse)
เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูกคือ มีตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป เมาส์ที่มีราคาสูงก็จะมีคุณภาพและใช้ได้นาน โดยปกติเมาส์จะมีปุ่มใช้งาน ปุ่ม เมาส์บางรุ่นอาจจะมี 4-5 ปุ่ม ปุ่มที่เพิ่มเข้ามานี้ก็จะเป็นปุ่มที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ หรือในบางรุ่นอาจจะมีล้อกลมๆคล้ากับล้อรถเพิ่มเข้ามาอยู่ระหว่างปุ่มทั้งสอง เราเรียกว่า Scroll Wheel โดยล้อดังกล่าวก็จะเอาไว้ใช้เลื่อนหน้าจอทำให้การทำงานสะดวกขึ้น แทนที่จะเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่สกอร์ลบาร์ (scroll Bar)เพื่อเลื่อนหน้าจอ

โมเด็ม (Modem)
                เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้  ปัจจุบันโมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อคอมพิวเตอร์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวมากขึ้นทำให้มีการสื่อสารผ่านโมเด็มมากขึ้น

หน้าที่หลักของโมเด็ม

                หน้าที่หลักของโมเด็ม  คือ เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital  Signalไปเป็นสัญญาณอะนาล็อก (Analog Signal)  และทำการส่งสัญญาณที่ได้ไปตามสายโทรศัพท์  ส่วนโมเด็มที่ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะรับข้อมูลก็จะทำการแปลงสัญญาณแบบอะนาล็อกให้เป็นสัญญาณแบบดิจิตอลและส่งต่อให้กับคอมพิวเตอร์ต่อไป
                โมเด็มที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ ชนิดคือ โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem)  และโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External Modem)

ข้อดีของโมเด็มแบบติดตั้งภายใน

1.       มีราคาถูก
2.       ไม่เปลืองเนื้อที่เนื่องจากติดตั้งอยู่ในเคส
3.       ไม่ต้องใช้พอร์ตอนุกรม
4.       มีชิป UART ที่ทำหน้าที่ควบคุมการรับข้อมูลระหว่างโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีความผิดพลาดน้อย

ข้อเสียของโมเด็มแบบติดตั้งภายใน

1.       ไม่มีสัญญาณไฟบอกสถานะการทำงาน เช่น  สัญญาณแสดงการรับหรือส่งข้อมูล
2.       ติดตั้งยากเพราะต้องเปิดฝาเครื่องออกก่อน
3.       เคลื่อนย้ายไม่สะดวก เช่น ในกรณีที่ต้องการนำโมเด็มไปใช้งานที่เครื่องอื่นก็ต้องเปิดฝาเครื่องออกก่อน
4.       ต้องการไดรเวอร์พิเศษของโมเด็มเพื่อที่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

ข้อดีของโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก

1.       มีสัญญาณไฟบอกสถานะการทำงาน
2.       ติดตั้งได้ง่าย
3.       เคลื่อนย้ายสะดวก

ข้อเสียของโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก

1.       เปลื่องเนื้อที่ในการจัดวางโมเด็ม
2.       ต้องใช้พอร์ตอนุกรม
3.       มีราคาแพง

ปัจจัยในการเลือกซื้อโมเด็ม

                ควรเลือดซื้อโมเด็มที่มีความเร็ว  56 Kbps  และรับรองมาตรฐาน V.90 ถ้ามีงบประมาณน้อยก็สามารถเลือกโมเด็มแบบ Internal ซึ่งจะมีราคาถูกมากแต่จะยุ่งยากในการติดตั้ง


ลำโพง  (Speaker)
                ลำโพง  เป็นอุปกรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง  เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกใช้งานเพื่อความบันเทิงและการศึกษามากขึ้น  เช่น  ใช้เป็นเครื่องเล่น VDO  CDใช้ฟังเพลงใช้ในงานซอฟต์แวร์มัลติมีเดียหรือโปรอกรมสื่อการสอน เป็นต้น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยลำโพงทั้งสิ้น

หลักการทำงานของการ์ดเสียงและลำโพง

                ทั้งการ์ดเสียงและลำโพงจะต้องทำงานร่วมกันในการผลิตเสียงออกมาให้ได้ยิน  โดยมีซีพียูควบคุมการทำงาน  เริ่มจากซีพียูทำการประมวลผลข้อมูลเสียงชนิดต่างๆ  ที่ได้จากซอฟต์แวร์ เช่น จากเกมส์  หนัง  และส่งต่อไปให้กับการ์ดเสียงเพื่อทำการถอดรหัสข้อมูลของสัญญาณจากเสียงที่ได้จากการประมวลผล  แล้วแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าแบบอะนาล็อกเพื่อส่งไปยังลำโพง  ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าแบบอะนาล็อกให้กลายเป็นสัญญาณเสียงต่อไป

ปัจจัยในการเลือกซื้อลำโพง

                การตอบสนองความถี่ของลำโพงที่ดีนั้น  ควรจะครอบคลุมช่วงความถี่เสียงที่มนุษย์สามารถได้ยินได้ทั้งหมดคือ ช่วงความถี่ 20Hz – 20000Hz  และจะต้องให้เสียงที่นุ่มนวล

เครื่องพิมพ์  (Printer)
                เครื่องพิมพ์  เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย  เพราะเป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลต่างๆ  เครื่องพิมพ์ในปัจจุบันมีราคาถูกและก็มีคุณภาพสามารถพิมพ์ได้ทั้งขาวดำและสี  และพิมพ์ออกมาเป็นตัวอักษรหรือรูปภาพก็ได้  เครื่องพิมพ์แบ่งออก
เป็น ชนิดคือ
1.       Dot Matrix  เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้หัวเข็มทั้งชนิด เข็มกับ 24 เข็ม  แบ่งออกเป็นเส้นแคร่สั้นกับแคร่ยาว  เครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นต่ำ  และคุณภาพต่ำด้วย
2.       Ink Jet  เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดใช้น้ำหมึกในการพิมพ์  มีความคมใกล้เคียงกับเครื่อง Laser แต่มีราคาถูก  พิมพ์ได้ทั้งขาวดำและสี
3.       Laser  เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความคมชัดและความเร็วในการพิมพ์ที่สูงที่สุด  มีเครื่องพิมพ์แบบขาวดำและแบบสี  แต่เครื่องแบบ Laser สีจะมีราคาสูงมาก

ปัจจัยในการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์

1.       ความละเอียด  เป็นตัววัดความชัดของการพิมพ์  โดยวัดเป็นจุดต่อนิ้ว  (dot per inch :dpi )  เช่น600x600 dpi, 720x720 dpi  เป็นต้น  ความละเอียดยิ่งมากความคมชัดยิ่งสูง  สำหรับการเลือกก็จะอยู่ที่ลักษณะการใช้งาน
2.       ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ต่อหน้า  ควรเลือกเครื่องพิมพ์ในรุ่นที่มีโหมดประหยัด
3.       ความเร็วในการพิมพ์  ระดับต่ำสุดคือ  จะพิมพ์ได้ หน้าต่อนาที  บางเครื่องอาจพิมพ์ได้ถึง หน้าต่อนาที
4.       หมึกพิมพ์  ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่ใช้หมึกแบบแยกตลับสี  เวลาสีใดหมดก็เปลี่ยนเฉพาะสีนั้น  แต่ถ้าใช้ตลับรวมจะต้องเปลี่ยนทั้งตลับ
5.       ราคาของหมึกพิมพ์ไม่ควรสูงนัก
6.       โปรแกรมที่ให้มากับเครื่องพิมพ์ เช่น โปรแกรมสติ๊กเกอร์

 

 อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบเครื่อง
                เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เกิดจากการประกอบกันของชิ้นส่วนต่างๆมากมาย  ทั้งส่วนประกอบอยู่ภายในและประกอบภายนอก  ซึ่งแต่ละส่วนก็จะมีส่วนก็จะมีบทบาท  หน้าที่  และความสำคัญที่แตกต่างกันไปออกไป 

1.  CPU
Pentium II 350 MHz
2.  Mainboard
Asus P2B
3.  Adapter  Card
Color Max VGA Card
4.  LAN  Card
Fast  Ethernet Adapter
5.  Sound  Card
Sound Blaster AWE 64  Value
6.  Hard  disk
Seagate 20 GB
7.  CD-ROM  Drive
LG 32X
8.  Floppy  Disk  Drive
3.5”
9.  Case
Medium Tower
10.  Power  Supply
230W
11.  Keyboard
108 Key
12.  Mouse
Tech
13.  Speaker
200W
14.  Printer
Epson styles


การกำหนดค่า (Jumper)  และดิพสวิตช์ (DIP Switch)
                ในการกำหนดค่าการทำงานทางด้านฮาร์ดแวร์ต่างๆบนเมนบอร์ด  เรามักจะใช้การกำหนดค่า Jumper หรือ DIP Switch โดย Jumper นั้นจะมีลักษณะเป็นพลาสติกรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก  
ภายในจะมีแผ่นโลหะนำไฟฟ้า   เวลาจะใช้งานก็จะนำตัว Jumper มาเสียบลงที่คู่ขาใดคู่หนึ่ง  ซึ่งขาดังกล่าวจะติดอยู่กับเมนบอร์ด  เมนบอร์ดบางรุ่นจะใช้การเช็คค่าการทำงานโดยใช้ดิพสวิตช์  โดยดิพสวิชต์นี้จะมีลักษณะเป็นพลาสติกรูปสี่เหลี่ยมภายในจะมีสวิตช์ขนาดเล็กวางเรียงกัน  ข้อกำหนดและสัญลักษณ์ต่างๆของการเซ็ต Jumper จะมีในคู่มือ

ตัวคูณความถี่และความเร็วของระบบบัส

                ก่อนที่เราจะทำการกำหนดค่า Jumper เราจะต้องทำความรู้จักกับตัวแปร ตัวก่อน คือ
1.       ตัวคูณความถี่ (Frequency Ratio)
อาจเรียกสั้นๆว่า ตัวคูณ  หมายถึงอัตราส่วนของความเร็วภายในซีพียูต่อความเร็วภายนอกซีพียู  ตัวอย่างตัวเลขของตัวคูณ เช่น  3.5x, 4.0x, 4.5x, 5.0x เป็นต้น  ความหมายของตัวเลข 3.5x คือ ซีพียูมีความเร็วเป็น 3.5 เท่าของความเร็วบัส
2.        ความเร็วของระบบบัส  (Bus Frequency)
หรือเรียกว่า  ความเร็วบัส  หมายถึง  ความเร็วภายนอกซีพียู  ตัวอย่างตัวเลขของความเร็วบัสที่ใช้กัน เช่น  66, 75, 100, 133  เมกะเฮิรตซ์

ความเร็วซีพียู  =  ตัวคูณ  X  ความเร็วบัส

การอ่านรหัสบนซีพียู

                โดยปกติแล้วตัวซีพียูแต่ละตัวจะมีรหัสระบุข้อมูลที่สำคัญของซีพียูมาด้วย  เช่น ซีพียูยี่ห้ออะไร  ผลิตที่ไหน  นัมเบอร์อะไร  ความเร็วเท่าไหร่  เป็นต้น 

การกำหนดค่าความเร็วบัสและตัวคูณ

                เริ่มต้นด้วยการตรวจดูความเร็วของซีพียูและความเร็วของบัสจากตัวซีพียู  ยกตัวอย่างเช่น  เราใช้ซีพียู Pentium II ความเร็ว 350 MHz และทำงานที่ความเร็วบัส 100 MHz ดังนั้นเราก็จะได้ค่าของตัวคูณเท่ากับ 3.5 คิดจากสูตร ความเร็วซีพียู  =  ตัวคูณ  X  ความเร็วบัส ) เสร็จแล้วให้เปิดหาตารางกำหนดค่า Jumper ในคู่มือ  เพื่อดูว่าเราจะต้องกำหนดค่า Jumper ที่ไหนอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการกำหนดค่าความเร็วบัส
                ในการกำหนดค่าความเร็วจะมีอยู่ ตำแหน่ง คือ FS0, FS1 และ FS2 โดยแต่ละตำแหน่งจะมี ขา คือ ขา 1, 2 และ เรียงจากซ้ายไปขวา  ถ้าดูจากตารางความเร็วบัสจากคู่มือ  จะพบว่าถ้าต้องการกำหนดค่าความเร็วบัสให้ได้ 100 MHz ให้ทำการ Jump ที่ขา กับ ขา 2  ทั้ง ตำแหน่ง (FS0=[1-2], FS1=[1-2], FS2=[1-2])



ขั้นตอนการกำหนดค่าตัวคูณ  (Frequency Ratio)
                สำหรับการกำหนดค่าตัวคูณ ก็จะมีทั้ง ตำแหน่ง คือ BF0, BF1, BF2 และ BF3 ในแต่ละตำแหน่งจะมี ขา จากตารางในคู่มือ  จะพบว่าถ้าต้องการกำหนดค่าตัวคูณให้ได้ 3.5 ให้ Jump ที่ขากับ ของตำแหน่ง BF0,BF1 และJump ที่ขา กับ ที่ตำแหน่ง BF2,BF3

การติดตั้งซีพียู


ความรู้ก่อนการติดตั้งซีพียู

                ซีพียู คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล  เครื่องใดที่มีซีพียูความเร็วของสัญญาณนาฬิกาสูง ก็จะสามารถทำงานได้เร็วกว่าเครื่องที่มีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาต่ำกว่า
(ในรุ่นเดียวกัน)  ปัจจุบันมีทั้งที่เป็นชิปซีพียูและชนิดที่เป็นการ์ดซีพียู  แต่ซีพียูรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมามีแนวโน้มว่าจะออกมาในรูปแบบของการ์ดกันหมด  ไม่ว่าจะเป็นค่ายอินเทลหรือเอเอ็มดี  ดังนั้นในการติดตั้งซีพียูก็จะติดตั้งลงบนสล็อตที่ออกแบบมาสำหรับซีพียูเหล่านั้นโดยเฉพาะ  และในการติดตั้งในที่นี่ก็จะเป็น  ตัวอย่างการติดตั้งซีพียูในรูปของการ์ด  เริ่มตั้งแต่การยกขาล็อคขึ้น  แล้วสอดซีพียูลงระหว่างขาทั้งสอง  กดซีพียูเบาๆจนขาล็อคซีพียูล็อคกับตัวซีพียู  และขั้นตอนสุดท้ายก็คือการติดตั้งสายพัดลมระบายอากาศ

คุณสมบัติของซีพียู

                ซีพียูที่ใช้ในการประกอบเครื่องครั้งนี้  เป็นซีพียู Intel Pentium II 350 MHz ซึ่งมีชื่อรหัสว่าDeschutes ใช้เทคโนโลยีในการผลิต 0.25 ไมครอน มีความเร็วบัส 100 MHz ขนาดของหน่วยความจำแคช L1 ขนาด 32 KB และแคช L2 ขนาด 512 KB โดยหน่วยความจำแคช L2 นี้จะมีความเร็วในการทำงานเป็นครึ่งหนึ่งของความเร็วซีพียู   เราจะติดตั้งซีพียูบน  Slot I ซึ่งเป็นสล็อตที่ออกแบบมาสำหรับรองรับซีพียู Pentium II

ขั้นตอนการติดตั้งซีพียู

1.       ยกขาล็อคซีพียูขึ้นทั้ง ข้าง
2.       ยกจนขาล็อคของซีพียูตั้งฉากกับเมนบอร์ด
3.       นำซีพียูสอดลงระหว่างขาล็อคทั้งสอง (สังเกตร่องของ Slot ให้ตรงกับตัวซีพียูโดยหันด้านหน้ามาทางพอร์ต
4.       ใช้นิ้วหัวแม่มือออกแรงกดซีพียูเบาๆ จนขาล็อคซีพียูล็อคกับตัวซีพียู (จะได้ยินเสียงดังคลิก)
5.       หาตำแหน่งของขั้ว CPU Fan สำหรับเสียบพัดลมระบายความร้อนของซีพียู
6.       นำสายพัดลมระบายความร้อน ซึ่งอยู่ด้านหลังของซีพียูมาเสียบเข้าที่ CPU Fan  (ถ้าเสียบผิดด้านจะเสียบไม่เข้า  ให้กลับด้านแล้วเสียบใหม่)
7.       จบขั้นตอนการติดตั้งซีพียู

การติดตั้งแรม

ความรู้ก่อนการติดตั้งแรม

                หน่วยความจำแรม คือ หน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลแบบชั่วคราว  เพื่อรอส่งให้กับซีพียูทำการประมวลผล  ถ้าเครื่องใดมีขนาดของแรมมากๆ ก็จะทำให้การทำงานเร็วขึ้น  เพราะซีพียูสามารถโหลดข้อมูลเก็บไว้ในแรมได้มาก  ทำให้เพิ่มโอกาสที่จะมีข้อมูลในแรมตรงกับที่ซีพียูต้องใช้ในการประมวลผลสูง  ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหาข้อมูลในฮาร์ดดิสก์  ชนิดของแรมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า SDRAM ในการติดตั้งก็เพียงแต่แรมลงใน DIMM Socket โดยหันด้านที่มีรอยเว้าให้ตรงกับสันของ DIMM Socket  แล้วกดลงไปจนขาล็อคดีดขึ้นมาล็อคแผงแรม

คุณสมบัติของแรม

                แรมที่ใช้ในการติดตั้งเป็นแรมชนิด SDRAM ขนาด 64 บิต ติดตั้งลงบน Socket แบบ DIMM เท่านั้น  สำหรับตำแหน่งของ DIMM Socket จะอยู่ทางด้านหลังของซีพียู  ในการติดตั้งจะเริ่มจาก DIMM1 ก่อน และถ้าต้องการเพิ่มแรมในภายหลังก็ให้ใส่ที่ช่องของ DIMM2 และ DIMM3ตามลำดับ  ขนาดของแรมที่ใช้คือ 128 MB  ทำงานที่ความเร็ว 100 MHz มี 168 ขา

ขั้นตอนการติดตั้งแรม

1.       หาตำแหน่งสล็อคเสียบแรมบนเมนบอร์ด  และเตรียมแรมให้พร้อม
2.       ตรวจดูว่า Socketใดคือ Socket แรก โดยดูจากตัวหนังสือที่พิมพ์ไว้บนด้านข้างของ Socket
3.       กดขาล็อคแรมออกทางด้านข้างทั้งสองข้าง
4.       นำแรมมาเสียบลงใน Socket DIMM1 ในการใส่ให้สังเกตรอยเว้าของแรมต้องตรงกับร่องของ Socket  พอดีจึงจะใส่ได้  ถ้าผิดด้านจะใส่แรมไม่ได้
5.       เสียบแรมให้ตรงกับช่องขาล็อคแล้วกดลงไปให้จนสุด  สังเกตได้ว่าแขนล็อคแรมได้กระดกกลับมาล็คปลายแรมทั้งสองข้างพอดี
6.       จบขั้นตอนการติดตั้งแรม

การติดตั้งเมนบอร์ด

ความรู้ก่อนการติดตั้งเมนบอร์ด

                เมนบอร์ด คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่รวบรวมอุปกรณ์ที่สำคัญต่างๆเอาไว้ด้วยกัน  คุณสมบัติที่สำคัญของเมนบอร์ดก็คือ  เรื่องของเสถียรภาพในการทำงาน  เมนบอร์ดที่ดีจะต้องไม่เกิดอาการที่เรียกว่า แฮงค์หรือระบบหยุดการทำงานอย่างกะทันหันบ่อยๆ  ซึ่งจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการทำงาน  สำหรับการติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส  เริ่มจากแกแผงเหล็กด้านข้างออกมา  นำเมนบอร์ดไปวางบนแผงเหล็ก  มาร์คตำแหน่งที่จะใส่ฐานรองเมนบอร์ด  เสร็จแล้วก็ใส่ฐานรองเมนบอร์ดไปวางบนฐานและสุดท้ายก็ทำการขันน็อตตามจุดต่างๆให้ครบ

คุณสมบัติของเมนบอร์ด

                เมนบอร์ดที่ใช้ในการติดตั้งเป็นเมนบอร์ด ASUSTEK P2B เป็นเมนบอร์ด Pentium II สนับสนุนซีพียูความเร็วตั้งแต่ 233-400 MHz ใช้ชิปเซ็ต Intel 440BX ซึ่งเป็นชิปเซ็ตที่สนับสนุนระบบบัสแบบ 100 MHz หรือที่อินเทลเรียกว่า 100 MHz Front Side Band (FSB) หน่วยความจำที่สนับสนุนคือ หน่วยความจำแบบ SDRAM โดยมี DIMM Socket 3 แถว  ซึ่งสามารถรองรับแรมได้สูงสุดถึง 384 MB (สนับสนุนแรมแบบ PC 100 ด้วย)
                นอกจากนี้ยังมี 3 ISA Slot, 4 PCI Slot และ 1 AGP Slot  กำหนดค่าการทำงานทางด้านฮาร์ดแวร์ต่างๆ ด้วยการเซ็ตที่ Jumper เป็นเมนบอร์ดแบบ ATX  ที่มีพอร์ตต่างๆ ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดแล้ว  ส่วนเคสที่ใช้เป็นเคสแบบ Medium เป็นเคสขนาดกลางที่เป็นที่นิยมใช้อยู่ในขณะนี้  การติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส  จะทำหลังจากที่เราติดตั้ง ซีพียูและแรมเสร็จแล้ว

ขั้นตอนการติดตั้งเมนบอร์ด

1.       ถอดแผ่นเหล็กด้านข้างออกจากตัวเคส
2.       วางเมนบอร์ดลงบนแผ่นเหล็ก  ขยับให้ตำแหน่งขันน็อตของเมนบอร์ดตรงกับรูของแผ่นเหล็กและมาร์คจุดเหล่านั้นไว้
3.       ใส่ฐานรองเมนบอร์ดตามช่องต่างๆ ให้ครบทุกช่องที่ได้มาร์คเอาไว้
4.       นำเมนบอร์ดมาวางบนฐานรอง  ขยับให้รูน็อตตรงกับรูของฐานรอง  นำน็อตมาขันให้ครบ
5.       ประกอบแผ่นเหล็กให้เข้ากับตัวเคส  และขันน็อตยึด
6.       จบขั้นตอนการติดตั้งเมนบอร์ด

การต่อสายไฟต่างๆ

ความรู้ก่อนการติดตั้งสายไฟ

                การนำสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายมาต่อเข้ากับเมนบอร์ด เพื่อจ่ายไฟกระแสตรงให้กับอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด มีทั้งสายเพาเวอร์สำหรับเมนบอร์ด  สายสัญญาณชนิดต่างๆ  และสายไฟสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่  ฮาร์ดดิสก์  ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์   ฯลฯ

สายเพาเวอร์ชนิดต่าง ๆ

สายเพาเวอร์จะมีอยู่ ชนิด
1.       สายเพาเวอร์สำหรับฟล็อปปี้ดิสก์
2.       สายเพาเวอร์สำหรับฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม
3.       สายเพาเวอร์สำหรับเมนบอร์ด

ขั้นตอนการติดตั้งสายเพาเวอร์

หาตำแหน่งของขั้วต่อสายเพาเวอร์ แล้วนำสายเพาเวอร์ซัพพลายมาต่อกับขั้วดังกล่าว โดยหันด้านที่มีหัวล็อคให้ตรงกัน (ถ้าใส่ผิดด้านจะใส่ไม่เข้า)

การต่อสายสัญญาณ

สายสัญญาณชนิดต่างๆ

1.       Message LED  เป็นสัญญาณไฟแสดงสถานะ ขณะมีการรับส่งข้อมูลจากแฟกซ์หรือโมเด็ม
2.       SMI Lead  เป็นการอนุญาตให้ผู้ใช้เปลี่ยนโหมดการทำงานของระบบเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน หรือ Green Mode เพื่อยืดอายุการทำงานให้กับอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้
3.       ATX Power Switch  เป็นสวิตซ์ควบคุมกำลังไฟ โดยในการกดปุ่มแต่ละครั้งจะเป็นการสับพลังงานระหว่างโหมด ON และ SLEEP แต่ถ้ากดสวิตซ์ขณะที่อยู่ใน ONโหมด เป็นเวลา วินาที เครื่องจะดับ
4.       RESET SW  เป็นคอนเน็คเตอร์ที่เชื่อมโยงไฟไปยังปุ่ม Reset Switch ที่อยู่ทางด้านหน้าของเคส ทำให้เราสามารถ Boot เครื่องใหม่ได้โดยการกดปุ่ม Reset แทนการกดปุ่ม Power เพื่อปิดและเปิดเครื่องใหม่
5.       Power LED เป็นคอนเน็คเตอร์ที่จะส่งไฟเลี้ยงไปยังหลอด LED ที่อยู่ทางด้านหน้าของเคส เพื่อแสดงสถานะของ  ถ้าเปิดเครื่องไฟจะติด Power  แต่ถ้าปิดเครื่องอยู่ในโหมด Sleep ไฟจะดับ
6.       Keyboard Lock เป็นสวิตซ์สำหรับล็อคการทำงานของคีย์บอร์ด เมื่อคีย์บอร์ดถูกล็อคก็จะสามารถใช้งานเมาส์ได้อย่างเดียวเท่านั้น
7.       SPESKER เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ต่อไปยังลำโพงที่ติดมากับเครื่อง
8.       HDD LED เป็นคอนเน็คเตอร์ที่จะจ่ายไฟไปยังหลอดที่ LED ที่อยู่ทางด้านหน้าของเคส เพื่อแสดงสถานะการอ่านหรือเขียนข้อมูลของอุปกรณ์ที่ต่อกับคอนเน็คเตอร์ Primary หรือ Secondary ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรว์

ข้อควรระวังในการต่อสายสัญญาณ

                เนื่องจากสายสัญญาณต่างๆ จะมีขั้ว  ดังนั้นการต่อสายสัญญาณแต่ละเส้นจะต้องต่อให้ตรงกับขั้ว  เพราะถ้าต่อสลับทางหลอด LED จะไม่ติดหรือสวิตช์ไม่ทำงาน  ถ้ามีหลอดใดไม่ติดหรือสวิตช์ใดไม่ทำงานให้สลับด้านแล้วเสียบใหม่

ขั้นตอนการติดตั้งสายสัญญาณ

1.       เลือกสาย RESET SW
2.       เสียบสาย RESET SW ลงที่ขา ณ ตำแหน่ง Reset SW โดยนำด้านที่มีสายสีส้มเสียบที่ ResetCon(หันคอนเน็คเตอร์ที่มีตัวหนังสือ RESET SW ออกทางด้านนอกของเมนบอร์ด)
3.       เลือกสาย  POWER SW
4.       เสียบสาย POWER SW  ลงที่ขา ATX Power Switch โดยนำด้านที่มีสายสีขาวเสียบที่ PRW_SW  (หันคอนเน็คเตอร์ที่มีตัวหนังสือ Power SW ออกทางด้านนอกของเมนบอร์ด)
5.       เลือกสาย POWER LED
6.       เสียบสาย POWER LED ลงที่ขา ณ ตำแหน่ง Power LEDโดยนำด้านที่มีสายสีเขียวเสียบที่ +5V
(หันคอนเน็คเตอร์ที่มีตัวหนังสือ Power LED ออกทางด้านในของเมนบอร์ด)
7.       เลือกสาย SPEAKER
8.       เสียบสาย SPEAKER ลงที่ขา ณ ตำแหน่ง  SPEAKER Connector โดยนำด้านที่มีสายสีแดงเสียบที่ +5V (หันคอนเน็คเตอร์ที่มีตัวหนังสือ SPEAKER ออกทางด้านในของเมนบอร์ด)
9.       เลือกสาย HDD LED
10.    เสียบสาย  HDD LED ลงที่ขา ณ ตำแหน่ง  IDE LED  โดยนำด้านที่มีสายสีแดงเสียบที่ ขั้วบวก (หันคอนเน็คเตอร์ที่มีตัวหนังสือ HDD LED ออกทางด้านนอกของเมนบอร์ด)
11.    จบขั้นตอนการติดตั้งสายสัญญาณ

การติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์

ความรู้ก่อนการติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์

                ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์  เป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการอ่านและบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์  ซึ่งแผ่นดิสก์ที่ใช้งานก็เป็นแผ่นขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 MBโดยปกติเราจะกำหนดไดรว์ของ
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ เป็นไดรว์ ประโยชน์ที่สำคัญของฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์นี้  นอกจากจะเป็นเรื่องของการให้ความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไฟล์ขนาดเล็กแล้ว  ยังเป็นไดรว์ที่ช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ไดรว์ ไม่สามารถ Boot ได้ เราก็เพียงตั้งลำดับการ Boot ใน BIOS ใหม่ โดยให้ Boot จากไดรว์ A ก่อน  แล้วก็นำแผ่น Boot มาใส่ที่ไดรว์ เท่านี้เราก็สามารถทำงานต่อไปได้  แต่ถ้าเราไม่มีไดรว์ A

เราก็คงทำอะไรต่อไปไม่ได้เลย  ทำให้ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ยังคงมีความจำเป็นต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง  สำหรับการติดตั้งก็ให้นำสายสัญญาณมาต่อเข้าที่ตัวไดรว์  และนำไปติดตั้งเข้ากับตัวเคส


คุณสมบัติของฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์

                ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์  มีขนาด 3.5 นิ้ว ใช้กับแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ขนาด 3.5 นิ้ว

ขั้นตอนการติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์

1.       นำสายสัญญาณมาต่อเข้ากับพอร์ตของฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์  โดยนำสายสัญญาณด้านที่มีแถบสีแดงต่อเข้าที่ขา ของฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์  ซึ่งพอร์ตจะมีตัวหนังสือพิมพ์บอกไว้ว่าขาใดคือ ขา ถ้าเสียบผิดด้านจะเสียบไม่เข้า  เพราะหัวเชื่อมต่อของสายสัญญาณจะมีสันสี่เหลี่ยมอยู่ตรงกลางและในการเสียบสายสันดังกล่าวจะต้องตรงกับร่องของฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์
2.       เสียบคอนเน็คเตอร์ของสายเพาเวอร์เข้ากับขั้วของฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (จะสังเกตได้ว่า  ถ้าเสียบคอนเน็คเตอร์ผิดด้านจะเสียบไม่เข้า)
3.       ตรวจดูช่องสำหรับใส่ฟล็อปปี้ดิสก์  ซึ่งเป็นช่องขนาดประมาณ 3.5 นิ้ว
4.       สอดฟล็อปปี้ดิสก์เข้าไปในช่อง
5.       ขันน็อตยึดทั้งสี่ด้าน
6.       ต่อสายสัญญาณของฟล็อปปี้ดิสก์อีกด้านหนึ่งเข้ากับคอนโทรลเลอร์คอนเน็คเตอร์บนเมนบอร์ด
7.       หันด้านที่มีแถบสีแดงไปทางด้านที่มีเลข 1 (คอนโทรลเลอร์คอนเน็คเตอร์  หรตือพอร์ตควบคุมของฟล็อปปี้ดิสก์จะมีตัวหนังสือพิมพ์กำกับที่เมนบอร์ดว่า FLOPPY)
8.       จบการติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์

การติดตั้งฮาร์ดดิสก์ไดรว์

ความรู้ก่อนการติดตั้งฮาร์ดดิสก์ไดรว์
                ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลในปริมาณมากๆ เราจะใช้ฮาร์ดดิสก์ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรมและข้อมูลต่างๆ โดยสามารถเก็บได้อย่างถาวรเมื่อเปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหายไป  ในการติดตั้งก็จะเริ่มจากการเซ็ต Jumper เพื่อกำหนดการทำงานของฮาร์ดดิสก์   และทำการต่อสาย IDE และสายเพาเวอร์  จากนั้นก็นำฮาร์ดดิสก์ติดตั้งเข้ากับตัวเคสเป็นขั้นตอนสุดท้าย

คุณสมบัติของฮาร์ดดิสก์ไดรว์

                ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ติดตั้งเป็นชนิด E-IDE (Enhance IDE) ขนาดความจุ 20 GB โดยจะเป็นการติดตั้งฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียวเท่านั้น  โดยเริ่มจากการตั้งค่า Jumper กำหนดการทำงานให้กับฮาร์ดดิสก์ ให้ทำงานเป็นเครื่องหลักหรือ Master  แต่ถ้ามีฮาร์ดดิสก์อีก ตัว ก็ให้ตั้งค่าฮาร์ดดิสก์ตัวที่ เป็นเครื่องรองหรือ Slave ถ้าเราไม่ตั้งค่า Jumper หรือตั้งค่าผิด  เครื่องก็จะมองไม่เห็นฮาร์ดดิสก์หลังจากนั้นก็ติดตั้งสายต่างๆ และติดตั้งเข้ากับเคส

ขั้นตอนการติดตั้งฮาร์ดดิสก์ไดรว์

1.       นำ Jumper มาเสียบไว้ในตำแหน่งที่ระบุเป็น Master โดยดูจากสติ๊กเกอร์ที่อยู่บนฮาร์ดดิสก์
2.       ต่อสาย IDE เข้ากับพอร์ตของฮาร์ดดิสก์  โดยนำด้านที่มีแถบสีแดงหันไปทางช่องต่อสาย
เพาเวอร์  (ถ้าเสียบผิดด้านจะเสียบไม่เข้า เพราะที่ต่อหัวของสาย IDE จะมีสันนูนขึ้นมาตรง
กลาง  ซึ่งจะร่องของฮาร์ดดิสก์พอดี)
3.       เสียบคอนเน็คเตอร์ของสายเพาเวอร์เข้ากับขั้วของฮาร์ดดิสก์   โดยนำด้านที่มีมุมโค้งไว้ด้านบนซึ่งตรงกับส่วนโค้งของช่องเสียบเพาเวอร์ของฮาร์ดดิสก์พอดี  (ควรเลือกใช้สายไฟที่พ่วงอยู่กับสายของฟล็อปปี้ดิสก์  เพราะทั้งฮาร์ดดิสก์และฟล็อปปี้ดิสก์ถูกติดตั้งในตำแหน่งที่ใกล้ๆ กัน  เพื่อเก็บสายที่เหลือไว้สำหรับอุปกรณ์ตัวอื่นที่ต้องการสายยาวๆ)
4.       สอดฮาร์ดดิสก์เข้าไปในช่อง
5.       ขันน็อตยึดทั้ง ด้าน
6.       ต่อสายสัญญาณฮาร์ดดิสก์อีกด้านหนึ่งเข้ากับคอนโทรลเลอร์คอนเน็คเตอร์ PRIMARY IDE บนเมนบอร์ด (คอนโทรลเลอร์คอนเน็คเตอร์  หรือพอร์ตควบคุมสำหรับอุปกรณ์เชื่อมต่อ IDE จะมีตัวหนังสือพิมพ์กำกับที่เมนบอร์ดว่า PRIMARY IDE และ SECONDARY IDE)
7.       หันด้านที่มีแถบสีแดงไปทางด้านที่มีเลข กำกับ
8.       จบการติดตั้งฮาร์ดดิสก์ไดรว์

การติดตั้งซีดีรอมไดรว์

ความรู้ก่อนการติดตั้งซีดีรอมไดรว์
                ซีดีรอมไดรว์ คือ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่ถือว่ามีความสำคัญมากในปัจจุบัน  เพราะไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม หนัง เพลง สื่อมัลติมีเดียและสื่อการสอน  ล้วนแล้วบรรจุลงแผ่นซีดีรอมทั้งสิ้น  เนื่องแผ่นซีดีรอมสามารถบรรจุข้อมูลได้มากและมีราคาถูก  ในการติดตั้งก็จะคล้ายกับฮาร์ดดิสก์  เริ่มจากการเซ็ต Jumper เพื่อกำหนดการทำงานของซีดีรอม ต่อสาย Audio เสียบสายIDE เข้ากับไดรว์  ติดตั้งซีดีรอมไดรว์เข้ากับตัวเคส  เสียบสายเพาเวอร์ และขั้นตอนสุดท้ายก็คือ เสียบสาย IDE เข้าที่พอร์ต SECONDARY IDE

คุณสมบัติขิงซีดีรอมไดรว์

                ซีดีรอมที่ใช้ในการติดตั้งมีความเร็ว 50 Mbps สำหรับการติดตั้งซีดีรอมก็จะเหมือนกับฮาร์ดดิสก์  คือจะมีการตั้งค่า Jumper และต่อสายสัญญาณกับสายเพาเวอร์ โดยในการตั้งค่า Jumper เราจะตั้งเป็น Master สำหรับเสียบช่อง SECONDARY IDE  ซึ่งวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพกว่าการตั้งค่า Jumper ของซีดีรอมให้เป็น Slave แล้วใช้งานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ทำให้การทำงานช้า  แต่วิธีนี้ต้องใช้สาย IDE เพิ่มอีก สาย

ขั้นตอนการติดตั้งซีดีรอมไดรว์

1.       นำ Jumper มาเสียบในตำแหน่งที่ระบุว่าเป็นMaster โดยดูที่ด้านหลังของซีดีรอม (ใช้ย่อว่า MA)
2.       นำสาย Audio มาต่อเข้าที่ช่อง Analog Audio ส่วนปลายสายอีกด้านหนึ่งเอาไว้ต่อกับซาวด์การ์ด (ถ้าเสียบผิดด้านจะเสียบไม่เข้า)
3.       ต่อสาย IDE เข้ากับพอร์ตของซีดีรอม นำด้านที่มีแถบสีแดงหันไปทางช่องต่อสายเพาเวอร์
(ถ้าเสียบผิดด้านจะเสียบไม่เข้า เพราะที่หัวต่อของสาย IDE จะมีสันนูนขึ้นมาตรงกลาง  ซึ่งจะตรงกับร่องของฮาร์ดดิสก์พอดี)
4.       เลือกช่องที่จะใส่ซีดีรอม  และเปิดฝาด้านหน้าออก
5.       สอดซีดีรอมเข้าไปในช่อง
6.       ขันน็อตยึดทั้ง ด้าน
7.       เสียบคอนเน็คเตอร์ของสายเพาเวอร์กับขั้วของซีดีรอม  โดยนำด้านที่มีมุมโค้งไว้ด้านบนซึ่งจะตรงกับมุมโค้งของช่องเสียบเพาเวอร์ของฮาร์ดดิสก์พอดี
8.        ต่อสายสัญญาณของซีดีรอมอีกด้านหนึ่งเข้ากับคอนโทรลเลอร์คอนเน็คเตอร์ SECONDARY IDE บนเมนบอร์ด (คอนโทรลเลอร์คอนเน็คเตอร์  หรือพอร์ตควบคุมสำหรับอุปกรณ์เชื่อมต่อ IDE จะมีตัวหนังสือพิมพ์กำกับที่เมนบอร์ดว่า PRIMARY IDE และ SECONDARY IDE)
9.       หันด้านที่มีแถบสีแดงไปทางด้านที่มีเลข กำกับ

การติดตั้งการ์ดต่างๆ


การ์ดที่ใช้ในการติดตั้ง  ได้แก่ การ์ดจอภาพ,  การ์ดแลน และการ์ดเสียง  ประกอบไปด้วยการ์ดแบบ AGP, PCI และ ISA ตามลำดับ  เมื่อติดตั้งการ์ดทั้ง ชนิดแล้ว ก็เสร็จสิ้นการติดตั้งอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์

การติดตั้งการ์ดจอภาพ

ความรู้ก่อนการติดตั้งการ์ดจอภาพ

                การ์ดจอภาพ เป็นการ์ดที่ทำหน้าที่ในการนำผลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงที่จอภาพ  การ์ดจอภาพที่ใช้กันมากในปัจจุบันเป็นการ์ดชนิดที่เร่งความเร็วได้ทั้งภาพ มิติและภาพ มิติ  และเป็นการ์ดแบบ AGP ซึ่งเป็นระบบบัสที่มีการส่งถ่ายข้อมูลเร็วกว่าระบบบัสแบบ PCI ในการติดตั้งก็จะเริ่มจากการเลือก Slot ที่ใช้ในการติดตั้งการ์ดเปิดฝาด้านหลังที่ตรงกับ Slot ที่เลือกไว้ออก แล้วนำการ์ดเสียบลงไปที่ Slot ขันน็อตยึดการ์ดกับตัวเคส

คุณสมบัติของการ์ดจอภาพ
                การ์ดจอภาพที่ใช้ในการประกอบครั้งนี้เป็นแบบ AGP ที่ต้องติดตั้งบน AGP Slot เท่านั้น ลักษณะของ Slot จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำตาล  ยาวประมาณ นิ้ว ที่ด้านหน้าของการ์ดจะมีพอร์ต (DB15) สำหรับต่อกับสายจอภาพแจ๊ค S Terminal  สำหรับต่อสายเข้ากับทีวี และแจ๊ค  AV Terminal สำหรับต่อสายเข้ากับทีวีช่อง AV

ขั้นตอนการติดตั้งการ์ดจอภาพ
1.       เปิดแผ่นโลหะที่ตรงกับ AGP Slot ออก
2.       เสียบแผ่นการ์ดลงในสล็อต  แล้วค่อยๆ ออกแรงกดเบาๆ
3.       ใส่น็อตยึดการ์ดจอกับตัวเคส
4.       จบขั้นตอนการติดตั้งการ์ดจอภาพ
 การติดตั้งการ์ดแลน
ความรู้ก่อนการติดตั้งการ์ดแลน
                การ์ดแลน คือ การ์ดที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในเครือข่ายได้  มีทั้งการ์ดที่สามารถส่งข้อมูลเร็วได้ 10 Mb/s (เมกะบิต
ต่อวินาทีและ 100 Mbps ขึ้นอยู่กับความเร็วของเครือข่ายที่ใช้งาน  การ์ดแลนส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมักจะเป็นการ์ดที่สามารถทำงานทั้งที่ได้ความเร็ว 10 และ 100 Mbps ในการติดตั้งก็จะเริ่มจากการเลือก Slot ที่ใช้ในการติดตั้งการ์ด   เปิดฝาด้านหลังที่ตรงกับ Slot ที่เลือกไว้ออก  แล้วนำการ์ดเสียบลงไปที่ Slot ขันน็อตยึดกับตัวเคส

คุณสมบัติของการ์ดจอภาพ

                ในการประกอบครั้งนี้จะเป็นการ์ด Fast Ethernet แบบ PCI ที่ใช้ได้ทั้งเครือข่ายความเร็ว  10/100 Mbps เมื่อมองที่การ์ดจะเห็นช่องสี่เหลี่ยมและมีหลอดไฟ LED อยู่ข้างล่าง  ช่องดังกล่าวก็คือแจ๊คที่ใช้เชื่อมต่อกับหัวต่อแบบ RJ45  สำหรับสายแลนชนิด UTP ส่วนหลอด LED ใช้แสดงสถานะของการทำงาน  ถ้าไฟติดแสดงว่าเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายแล้ว  ถ้าไฟกระพริบแสดงว่ามีการรับส่งข้อมูล

ขั้นตอนการติดตั้งการ์ดแลน

1.       เลือกสล็อตแบบ PCI ที่จะทำการติดตั้ง  หลังจากนั้นให้เปิดแผ่นโลหะด้านหลังออก
2.       เสียบแผ่นการ์ดลงในสล็อต  แล้วค่อยๆ ออกแรงกดเบาๆ
3.       ในน็อตยึดการ์ดแลนกับตัวเคส
4.       จบขั้นตอนการติดตั้งการ์ดแลน

การติดตั้งการ์ดเสียง

ความรู้ก่อนการติดตั้งการ์ดเสียง
                การ์ดเสียง  เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังเพลง  ดูหนัง หรือเล่นเกมส์ได้  ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดไม่มีการ์ดเสียงมันก็จะส่งเสียงดังได้แค่ ปี๊บ” ออกมาที่ลำโพงของเครื่องได้เท่านั้น  ในบางเมนบอร์ดก็จะมีการ์ดเสียงที่มีลักษณะเป็นชิปอยู่บนเมนบอร์ดเลย  ที่เราเรียกว่า
Sound  On Board”  ซึ่งมีคุณภาพเสียงอยู่ในระดับดีพอสมควร  แต่ถ้าต้องการเสียงที่มีคุณภาพจริงๆ  ก็ควรเลือกการ์ดเสียงชนิดติดตั้ง  จะมีราคาตั้งแต่ 700 บาทถึงระดับ 10,000 กว่าบาทขึ้นไป  ในการติดตั้งก็เริ่มจากการเลือก Slot ที่ใช้ในการติดตั้งการ์ด  เปิดฝาด้านหลังที่ตรงกับ Slot ที่เลือกไว้ออก  แล้วนำการ์ดเสียบลงไปที่ Slot ขันน็อตยึดการ์ดกับตัวเคส
คุณสมบัติของการ์ดจอภาพ
                การ์ดเสียงที่ใช้ในการติดตั้งเป็นการ์ดแบบ ISA ที่ด้านหน้าของการ์ดจะมีพอร์ตสำหรับต่อกับ Joystick  และมี แจ๊ค ได้แก่  Line In สำหรับเครื่องเล่นเทป และซีดีMic In  สำหรับต่อไมค์, Line Out สำหรับ Stereo Amplifier, Speaker Out สำหรับหูฟังและลำโพง

ขั้นตอนการติดตั้งการ์ดแลน
1.       เลือก Slot แบบ ISA ที่จะทำการติดตั้ง  หลังจากนั้นให้เปิดแผ่นโลหะด้านหลังออก
2.       เสียบแผ่นการ์ดลงใน Slot แล้วค่อยๆ ออกแรงกดเบาๆ
3.       ในน็อตยึดการ์ดแลนกับตัวเคส
4.       นำสาย Audio ที่ต่ออยู่กับซีดีรอมมาเสียบเข้ากับขั้วบนซาวด์การ์ด
5.       จบขั้นตอนการติดตั้งการ์ดเสียง

การติดตั้งอุปกรณ์ภายนอก
                การติดตั้งอุปกรณ์ภายนอก  ได้แก่  จอภาพ  คีบอร์ด  เมาส์  ลำโพง  โมเด็ม และเครื่องพิมพ์  อุปกรณ์ต่างๆ  เหล่านี้จะถูกเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายสัญญาณที่ให้มากับอุปกรณ์แต่ละชนิด  ก่อนที่จะทำการติดตั้งสายต่างๆ ให้ตรวจสอบดูก่อนว่าอุปกรณ์แต่ละชนิดมีสายอะไรให้มาบ้าง  และต้องต่อสายใดที่ช่องใดบ้าง  เพราะถ้าเสียบผิดช่องอุปกรณ์ตัวนั้นก็จะไม่ทำงาน  เช่น  กรณีที่เสียบเมาส์และคีบอร์ดสลับช่องกัน  ทั้งเมาส์และคีบอร์ดก็จะใช้งานไม่ได้  หรือกรณีเสียบสายลำโพงผิดช่องก็จะทำให้ลำโพงไม่ดัง  ดังนั้นก่อนที่จะทำการติดตั้งสายใดๆ ควรจะตรวจสอบจากคู่มือหรืออาจดูจากสัญลักษณ์หรือตัวหนังสือที่กำกับมากับช่องเสียบหรือแจ๊คเสียก่อน  จากนั้นก็เริ่มทำการติดตั้งสายของอุปกรณ์ทีละเส้น  และต้องเสียบสายต่างๆ ให้เสร็จก่อนที่จะเสียบปลั๊กไฟบ้าน

การต่อสายจอภาพและสายเพาเวอร์
ขั้นตอนการติดตั้งสายเพาเวอร์และสายสัญญาณ
1.       นำสายสัญญาณของจอภาพมาเสียบเข้าที่พอร์ตทางด้านหลังของการ์ดแสดงผล
2.       หมุนน็อตยึดทั้ง ข้าง
3.       เสียบสายเพาเวอร์ของจอภาพเข้าที่ปลั๊กด้านหลังของจอภาพ
4.       นำปลั๊กอีกด้านหนึ่งมาต่อกับเพาเวอร์ซัพพลาย  (ถ้าเสียบผิดช่องจะเสียบไม่เข้า)
5.       นำสายเพาเวอร์มาเสียบเข้าที่เพาเวอร์ซัพพลาย  ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของเคส  ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งเอาไว้ต่อกับปลั๊กไฟบ้าน (ปลั๊กด้านที่จะต่อกับปลั๊กไฟบ้านจะเสียบก็ต่อเมื่อติดตั้งสายอื่นำเสร็จเรียบร้อยแล้ว)
การต่อสายเมาส์และคีบอร์ด
ขั้นตอนการติดตั้งสายเมาส์และคีบอร์ด
1.       นำสายของคีบอร์ดมาต่อเข้าที่พอร์ต PS/2 ของคีบอร์ดโดยนำด้านที่เป็นสี่เหลี่ยมหันไปทางขวามือ (พอร์ตของคีบอร์ดจะมีลักษณะเหมือนกับพอร์ตของเมาส์  เวลาจะเสียบอาจจะดูจากสีของคีบอร์ดและเมาส์ด้วย ระวังจะเสียบผิดช่อง  เพราะจะทำให้คีบอร์ไม่ทำงาน)
2.       นำสายของเมาส์มาเสียบเข้าที่พอร์ต PS/2 ของเมาส์  ซึ่งอยู่ถัดจากพอร์ตคีบอร์ดเข้ามาทาง
ด้านใน

การต่อสายลำโพง
ขั้นตอนการติดตั้งสายลำโพง
-          นำแจ๊คของสายลำโพงมาเสียบเข้าที่ช่องของซาวด์การ์ด (โดยปกติช่องที่เสียบลำโพงจะมีการพิมพ์ตัวหนังสือบอกไว้  เช่น SPK หรือการ์ดเสียงบางยี่ห้ออาจจะใช้สัญลักษณ์รูปลำโพงแทน)

การต่อสายแลน
ขั้นตอนการติดตั้งสายแลน
-          นำสายแลนหรือสาย UTP ซึ่งมีหัวต่อเชื่อมแบบ RJ45 มาเสียบเข้าที่แจ๊คของการ์ดแลน

การต่อสายโมเด็ม
โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้  ที่ด้านหลังของโมเด็มจะมีจุดที่ต้องเชื่อมต่ออยู่ จุด ได้แก่
1.       ช่องสำหรับเสียบสายเพาเวอร์
2.       ช่อง Phone สำหรับต่อสายโทรศัพท์ (สายที่หัวท้ายเป็น RJ11)ไปยังโทรศัพท์
3.       ช่อง Line สำหรับเสียบกับสายโทรศัพท์
4.       พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณไปยังพอร์ตอนุกรมของคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการติดตั้งสายโมเด็ม
1.       นำสายเพาเวอร์ของโมเด็มมาต่อเข้ากับตัวโมเด็ม
2.       ถอดสายโทรศัพท์และนำมาเสียบเข้าที่โมเด็มตรงช่องที่เขียนว่า Line
3.       นำสายโทรศัพท์ที่ให้มากับโมเด็มมาเสียบเข้าที่ช่อง Phone ของโมเด็มและโทรศัพท์บ้าน
4.       นำสายสัญญาณมาต่อเข้าที่พอร์ตอนุกรม
5.       นำปลายสายสัญญาณอีกด้านหนึ่งมาต่อเข้าที่พอร์ตของโมเด็ม
6.       จบการติดตั้งสายสัญญาณของอุปกรณ์ต่างๆ
เสร็จสิ้นการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น