บทที่ 5 การกำหนดค่าไบออสและการแบ่งพาติชั่น
สาระสำคัญ
หลังจากประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก่อนการทำการติดตั้งโปรแกรม คือ การกำหนดค่าในไบออส (BIOS) โดยปรับแต่งให้เหมาะสมกับฮาร์ดอวร์ที่ติดตั้งบนแผ่นเมนบอร์ด เพื่อให้เครื่องทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ หลังจากนั้นก็ดำเนินการแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่าพาร์ทิชั่น (Partition) เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
เรื่องที่จะศึกษา
- ความหมายของไบออส
- การตั้งค่าในไบออส
- รายละเอียดของเมนูต่าง ๆ
- การปรับปรุงไบออส
- การแบ่งพาร์ติชันด้วย FDISK
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของไบออส
2. บอกวิธีในการตั้งค่าในไบออสได้
3. บอกรายละเอียดของเมนูต่าง ๆ ในไบออสได้
4. บอกขั้นตอนวิธีในการปรับปรุงไบออสได้
5. สามารถตั้งค่าไบออส และแบ่งพาร์ติชันด้วย FDISK ได้
โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานในการบู๊ตเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ถูกติดตั้งอยู่ในชิบประเภท ROM บนเมนบอร์ด การทำงานของ ไบออส จะทำงานหลังจากมีการเปิดสวิทซ์ ทันที ที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์ เช่น harddisk, disk drive, cd-rom, ram เป็นต้น
ไบออส บางครั้งก็เรียกว่า ซีมอส (CMOS) แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นคนละส่วนกัน คือ ไบออส เป็นโปรแกรมที่เก็บในรอม ไม่จำเป็นต้องมีพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในการเก็บข้อมูล ส่วน ซีมอส จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลในการบู๊ตระบบ มีหลักการทำงานคล้ายแรม ซึ่งต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลา โดยปกติจะอาศัยพลังงานจาก แบตเตอร์รี่ ภายในเครื่องคอมฯ (ปัจจุบัน ไบออสและซีมอส ได้ถูกรวมกันเป็นชิบตัวหนึ่ง ๆ )
วิธีการ setup bios เราสามารถเข้าไปกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ และแก้ไขข้อมูลบางอย่างในไบออสได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะเวลาที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม เช่น ram, harddisk เป็นต้น การเข้าไปกำหนดรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมนั้น จะขึ้นกับยี่ห้อของไบออส เนื่องจากแต่ละบริษัทก็มีวิธีการเข้าไป setup ต่าง ๆ กัน สำหรับไบออสที่ใช้งานกันโดยทั่วไป เช่น Ami, Award, Phoenix เป็นต้น ตัวอย่างการ setup bios
1. เปิดเครื่องเข้าระบบคอมพิวเตอร์
2. หน้าจอจะเป็นสีดำ สังเกตุข้อความด้านล่าง จะมีคำสั่งให้กด เช่น 'Press DEL to enter SETUP' เป็นต้น
- CPU Configuration กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของซีพียู เช่น ความ
เร็วบัส ตัวคูณ เป็นต้น - Chipset เมนูพิเศษที่สนับสนุนระบบชิปเซ็ต เช่น กำหนดมาตรฐานการทำงานของฮาร์ดดิสก์, การแสดงผล, แรม รวมทั้งรูปแบบการเชื่อมต่อต่าง ๆ (ช่องสล็อต และพอร์ตเชื่อมต่อ)
- Onboard Devices Configuration กำหนดค่าของระบบการทำงาน อินพุต/เอาต์พุต ของอุปกรณ์ต่าง ๆที่ติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด (Onboard) เช่น ชิปเสียง เป็นต้น
- PCI PnP เมนูสนับสนุนการตรวจสอบอุปกรณ์ ที่ติดตั้งใหม่โดยอัตโนมัติ (Plug&Play) และกำหนดค่าตัวเลือกในการใช้ PCI Bus
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น