วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 10 โน้ตบุ๊ก (Notebook)

บทที่ 10 โน้ตบุ๊ก (Notebook)

สาระสำคัญ
   โน้ตบุ๊ก (Notebook) คือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาชนิดหนึ่งที่สามารถพกพาไปในที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก แต่จะมีราคาสูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบซีพีเมื่อเปรียบเทียบรุ่นและสรรถนะการทำงานที่เท่ากัน ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กได้รับความนิยมจากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากสรรถนะการทำงานที่สูงขึ้นประกอบกับราคาที่ถูกลง

เรื่องที่จะศึกษา
- คอมพิวเตอร์
- วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่อง
- น้ำหนักของโน้ตบุ๊ก
- ส่วนประกอบ
- ซีพียู
- อุปกรณ์ชี้
- พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก
- ระบบเสียงและลำโพง
- แบตเตอรี่
- ระบบระบายความร้อน
- ไดร์ฟเก็บข้อมูล

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. บอกลักษณะของคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กได้
  2. อธิบายรายละเอียดวัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่อง
  3. เขียนน้ำหนักของโน้ตบุ๊ก
  4. เขียนส่วนประกอบต่าง ๆ ของโน้ตบุ๊กได้
  5. เขียนลักษณะของซีพียู
  6. ใช้อุปกรณ์ชี้แบบต่าง ๆ ได้
  7. วาดรูปพอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกได้
  8. บอกลักษณะระบบเสียงและลำโพงของโน้ตบุ๊กได้
  9. เขียนรายละเอียดของแบตเตอรี่ได้
  10. ใช้งานไดร์ฟเ็บข้อมูลแบบต่าง ๆ ได้

คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก

    เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือขนาดพกพา หรือในบางครั้งเรียกว่าขนาดสมุดโน้ต เพราะสามารถพกพาติดตัวไปที่ต่าง ๆ ได้สะดวก  ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรีคะ มีน้ำหนักประมาณ 1.5 - 3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อปนะคะ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กกำลังได้รับความนิยมมาก เนื่องจากราคาที่ถูกลงกว่าในอดีต
วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่อง

    นอกเหนือจากการที่เราจะซื้อโน้ตบุ๊กมาใช้งานซักหนึ่งเครื่อง สิ่งที่ต้องดูเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ สเปกที่ใช้งานซึ่งประกอบไปด้วยชิปประมวลผล หน่วยความจำแรม หน่วยความจำสำรอง ชิปกราฟิการ์ด และอื่นๆ อย่างเช่นช่องทางพอร์ตการเชื่อมต่อ เป็นต้น


มาในตอนนี้เราจะพามาดูอีกส่วนประกอบหนึ่งในการเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก อย่างวัสดุในการผลิตจนเป็นโน้ตบุ็กหนึ่งเครื่อง ที่หลักๆ แล้ววัสดุที่เราเห็นกันก็จะมี อาทิเช่น พลาสติก (มีทั้งแบบด้านและแบบมัน), อะลูมิเนียมอัลลอยด์ (อะลูนิเนียมผสมโลหะอื่น), แม็กนีเซียมอัลลอยด์ (แม็กนีเซียมผสมโลหะอื่น) และคาร์บอนไฟเบอร์ อีกทั้งในอนาคตเราอาจจะเห็นอีกหนึ่งวัสดุอย่าง ไฟเบอร์กลาส ในการมาเป็นวัสดุหลักในการประกอบเครื่อง Ultrabook ซึ่งมีคุณสมบัติในเรื่องของความแข็งแรงและน้ำหนักเบา แต่ก็อาจจะไม่ถึงขั้นของโลหะชนิดอื่นๆ ต่อไปเราก็จะมีดูกันว่า วัสดุแต่ละชนิดนั้นมีจุดเด่นและความน่าสนใจอย่างไรกันบ้าง


พลาสติก
          เรียกได้พลาสติกนั้นว่าเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการประกอบเป็นเครื่องโน้ตบุ๊ก Mainstream (โน้ตบุ๊กขนาด 13, 14, 15 นิ้ว ที่เน้นใช้งานแทนคอมพิวเตอร์พีซีเป็นหลัก) ที่อาจจะเป็นพลาสติกแบบเกรดธรรมดา หรือคุณภาพสูงอย่าง ABS (มีทั้งแบบด้านและแบบมันวาว) โดยราคาของโน้ตบุ๊กที่ใช้พลาสติกเป็นวัสดุนั้นจะอยู่ในช่วงราคาตั้งแต่หมื่นบาทไปจนถึงหลายหมื่นบาทด้วยกัน ซึ่งของดีของการใช้พลาสติกเป็นวัสดุในการประกอบโน้ตบุ๊กสำหรับผู้ผลิตค่ายต่างๆ ก็คือ มีต้นทุนที่ถูกที่สุด รวมไปถึงสามารถขึ้นรูปทรงได้ง่าย ถ่ายเทความร้อนได้งดี (ไม่อมความร้อน) ถึงว่าความแข็งแรงทนทานอาจจะมีไม่มากนัก สามารถใช้งานทั่วไปได้อย่างสบายๆ อย่างไม่ต้องกังวล แต่ก็อาจจะมีข้อสังเกตอยู่ว่า หากใช้ไปนานๆ อาจจะมีอาการกรอบ ทำให้แตกหักได้ง่าย รวมไปถึงสีสันที่เคลือบเอาไว้อาจจะหลุดลอกได้


ที่ส่วนมากหรือเกือบ 100% ของโน้ตบุ๊กทั้งหมดที่ใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบนั้น จะเน้นไปในเรื่องของความคุ้มค่าในส่วนของสเปกและราคาเป็นหลัก ซึ่งในการใช้งานจริงๆ วัสดุอย่างพลาสติกอาจจะไม่ได้ให้ในเรื่องของความที่เป็นวัสดุระดับสูงนัก แต่ก็ถือว่าเหมาะสมกับคนที่ไม่เน้นในเรื่องของวัสดุในการประกอบ เพราะหากเทียบโน้ตบุ๊กเสปกเดียวกัน ที่ต่างกันด้วยวัสดุและดีไซน์ล่ะก็ จะเห็นว่าโน้ตบุ๊กที่ใช้วัสดุเป็นพลาสติกนั้นจะมีราคาถูกกว่าร่วมหมื่นบาทเลยทีเดียว


ซอฟท์ทัช
          ซอฟท์ทัช (Soft Touch) เป็นวัสดุประเภทพลาสติกกึ่งยางที่เกิดจากกระบวนการฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์แล้วทำการรีดผ่านโรลเย็น โดยวิธีการทำนั้นต้องอาศัยเวลาและน้ำหนักการดึงที่พอดี ไม่เช่นนั้นพื้นผิวยางจะเกิดความเสียหายได้ โดยหลังจากผ่านกระบวนการข้างต้นแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการ Thermoforming ที่เป็นกระบวนการขึ้นรูป ให้พลาสติกขึ้นรูปเป็นรูปแบบต่างๆ ได้ด้วย

4. ส่วนประกอบ
          นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญ และปัจจัยหนึ่งไปแล้ว สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดพกพา หรือที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ถึงแม้ปัจจุบันจะมีกระแสแท็บเล็ตที่มีความสามารถมาก ให้ผู้ใช้เลือกใช้ แต่ความสามารถก็ยังไม่เจ๋งเท่าเครื่องคอมพิวเตอร์ และโดยเฉพาะที่เป็นแบบโน๊ตบุ๊คแล้ว ทุกวันนี้เรียกได้ว่าประสิทธิภาพถูกพัฒนาขึ้นมาก ทั้งความเร็วและความแรง ให้งานได้ดีและเหมาะสมกว่าเครื่องแบบพีซีด้วยซ้ำไป แถมราคาก็ยังถูกลงมากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะเป็นที่นิยม และมีผู้ใช้งานเป็นจำนวณมาก วันนี้ i7 จึงขอนำเสนอบทความที่อาจมีประโยชน์กับผู้ใช้มือใหม่หลายๆท่าน ที่บางคนอาจจะไม่รู้จักส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กที่ตัวเองซื้อมา และแต่ละอย่างมันทำหน้าที่อะไรบ้าง

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
จากภาพประกอบ i7 จะพูดถึงรายละเอียดคร่าวๆ พอให้รู้จักส่วนต่างๆ กันไปก่อน แล้วจะค่อยๆเจาะลึกแต่ละส่วน
A : หน้าจอแสดงผล หรือจอแอลซีดี(LCD) สำหรับแสดงผลให้เราสามารถติดต่อและทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
B : กล้องเว็บแคม ส่วนมากโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ จะมีมาให้ด้วยเสมอ กล้องนี้ก็มีไว้สำหรับใช้สนทนาผ่านกล้องเว็บแคม หรือวิดีโอคอลเป็นต้น
C : ปุ่มเปิดเครื่อง สำหรับปุ่มเปิดเครื่องแต่ละรุ่น ก็อาจจะอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน
D : คีย์บอร์ด สำหรับพิมพ์ หรือป้อนข้อมูลเข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
E : ทัชแพ็ด (Touchpad) คือเมาส์แบบทัชแพ็ด สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์ในการทำงาน
F : ปุ่มกดคลิ๊กซ้าย/ขวา ใช้สำหรับคลิ๊ก และคลิ๊กขวา ตามลำดับ เหมือนกับการใช้ในเมาส์แบบทั่วๆไป 

G : พอร์ท USB 3.0 สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ๆ จะมีพอร์ทที่รองรับ USB 3.0
H : ออปติคอลไดรว์ หรือ DVD Drive สำหรับอ่าน CD/DVD หรือแผ่นดิสก์ทั่วไป
I : ช่องเสียบ USB
J : ช่องเสียบสายชาร์จโน๊ตบุ๊ค
K : ช่องระบายความร้อน
L : พอร์ตเสียบสายแลน (Ethernet RJ-45)
M : พอร์ต VGA สำหรับกับจอแสดงผลภายนอก
N : พอร์ตต่างๆ เช่น USB ช่องเสียบไมโครโฟน ช่องเสียบลำโพง เป็นต้น
หมายเหตุ * ตำแหน่งที่ัตั้งของส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นอาจแตกต่างกันไป
ซีพียู (CPU)

   CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้ 

                   สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHzและมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง บิต เรียกกันว่าซีพียู บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที



พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก


พอร์ต USB

พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว 
  คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้ 
  เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร 
  พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป 
  สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว 
  เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ 
  การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่


พอร์ตอนุกรม

เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน 
  พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา) 
  พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น 
  สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร และราคาสายก็ไม่แพงนัก

พอร์ตขนาน 

     หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดรฟ์ซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไป โดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน สังเกตได้ง่าย 
  พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต) 
  พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น 
  สามารถต่อความยาวไม่มากนัก แถมมีราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรมด้วย 
  การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม


แบตเตอรี่
อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้เก็บพลังงาน และนำมาใช้ได้ในรูปของไฟฟ้าแบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าเคมี เช่น เซลล์กัลวานิกหรือเซลล์เชื้อเพลิง ย่างน้อยหนึ่งเซลล์
เชื่อกันว่าหลักฐานชิ้นแรกสุดที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ในประวัติศาสตร์โลก คือ วัตถุที่เรียกว่าแบตเตอรี่แบกแดด (Baghdad Battery) คาดว่ามีอายุในช่วง 250 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 640 สำหรับพัฒนาการของแบตเตอรี่ในยุคใหม่นั้น เริ่มต้นที่ ที่พัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี นามว่า
 เมื่อ ค.ศ. 1800 ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสามารถสร้างรายได้จากการขายปีละ 4.8 หมื่นล้านดอลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

ระบบระบายความร้อน
    
    โน๊ตบุ๊กปัจจุบันนิยมใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูงระดัวกิกะเฮิร์ตขึ้นไป เช่นเดียวกับซีพียูของคอมพิวเตอร์ระบบซีพี เพราะฉนั้นจำเป็นจะต้องทำการติดตั้งพัดลมระบายความร้อนเพื่อช่วยระบายความร้อนให้เครื่องมีเสถียรภาพในการทำงานดีขึ้น โดยทั่วไปบริษัทผู้ผลิตจะออกแบบช่องดูดอากาศและช่องเป้าความร้อนออกจากเครื่องไว้บริเวณด้านข้างของโน้ตบุ๊ก 


ไดร์ฟเก็บข้อมูล
   โน้ตบุ๊กส่วนใหญ่จะตั้งดิกส์เก็ตไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้ว เพื่อให้ใช้งานร้วมกันกับแผ่นดิสก์ที่จุข้อมูล 1.44 MB ได้ แต่บางรุ่นก็ไม่ได้ติดตั้งมาให้ ถ้าต้องการใช้งานจะต้องนำมาเชื่อต่อผ่านพอร์ตอนุกรมอีกทีหนึ่ง แต่ไดร์ที่นิยมติดตั้งให้กับโน้ตบุ๊กทุกเครื่องคือไดร์ฟแบบซีดีรอม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น