วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 8 โปรแกรมช่วยงาน

บทที่ 8 โปรแกรมช่วยงาน

สาระสำคัญ
    โปรแกรมช่วยงานหรือยูทิลิตี้ (Utility) คือโปรแกรมที่ใช้ช่วยในการปรับแต่งหรือแก้ไขปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมยูทิลิตี้ที่ใช้ในงานประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 2 โปรแกรมหลัก คือ โปรแกรม Partition magic ซึ่งช่วยในการจัดการและปรับแต่งพาร์ทิชันของฮาร์ดดิกส์ และ โปรแกรม Norton Ghost ซึ่งใช้สำหรับการคัดลอกโปรแกรมหรือโคลน (clone) ฮาร์ดดิกส์ เพื่อลดเวลาในการติดตั้งโปแกรม

เรื่องที่จะศึกษา 
- โปรแกรมช่วยงาน (Utility)
- การใช้โปรแกรม Partition Magic
- การใช้โปรแกรม Norton Ghost

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. บอกหน้าที่ของโปรแกรมยูทิลิตี้ได้
  2. สามารถใช้งานโปรแกรม Partition Magic ได้
  3. สามารถใช้งานโปรแกรม Norton Ghost ได้
  4. มีวินัยในการทำงาน
โปรแกรมช่วยงาน (Utility)่
    โปรแกรมช่วยงานหรือยูทิลิตี้ คือ โปรแกรมที่ช่วยในการปรับแต่งหรือแก้ไขปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมยูทิลิตี้ที่ใช้ช่วยในงานประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 โปรแกรมหลัก คือ โปรแกรม Partition Magic ซี่งฝช้ช่วยในการจัดการและปรับแต่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิกส์ และ โปรแกรม Norton Ghost ซึ่งใช้สำหรับการโคลน (clone) ฮาร์ดดิกส์ เพื่อลดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม

โปรแกรม Partition Magic

     คือโปรแกรมแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ให้เป็นส่วนๆ  เพื่อประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันทั่วไปส่วนใหญ่มักถูกแบ่ง พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เป็น 2 ไดร์ฟ นั้นคือ ไดร์ฟ c และ ไดร์ฟ d แต่เมื่อเราต้องการมีไดร์ฟ e เพิ่มอีกหนึ่งไดร์ฟ ก็สามารถใช้โปรแกรม Partition Magic นี้ช่วยสร้างไดร์ฟ e ได้ โดยสามารถทำการแบ่ง ลบ สร้าง ย่อและขยายไดร์ฟ หรือเปลี่ยนชนิดของ FAT ของฮาร์ดดิสก์ได้ โดยที่สามารถทำบนฮาร์ดดิสก์ ที่มีข้อมูลอยู่ได้เลย และข้อมูลที่เก็บอยู่จะไม่มีการสูญหายด้วย นอกจากนี้ยังทำการรวม Partition ของฮาร์ดดิสก์ได้เช่นกัน


การเปลี่ยนขนาดพาร์ทิชั่น

1.  จะเห็นว่าเราไม่สามารถขยายพาร์ทิชั่นได้ เพราะมีการใช้พื้นที่ไดร์ฟจนเต็มหมดแล้ว เราจะต้องทำการหดพาร์ทิชั่นก่อน ในที่นี้จะทำการหดพาร์ทิชั่นที่ 2 โดยการคลิกขวาที่ไดร์ฟ D เลือก Resize/Move
2. ทำการหดขนาด โดยคีย์ขนาดที่เราต้องการในช่อง New Size หรือลากที่ส่วนท้ายของแถบสีเขียว

3. หลังจากที่เราทำการหดขนาดของพาร์ทิชั่นที่ 2 แล้ว จะได้ดังรูป ก็ให้คลิกปุ่ม OK

4. หลังจากเราลดขนาดของพาร์ทิชั่น 2 แล้วจะเห็นว่ามีพื้นที่ว่างหลัง ไดร์ฟ D ซึ่งอยู่ติดกับไดร์ฟ E ส่วนนี้แหละที่เราจะขยายพาร์ทิชั่นที่ 3 ขึ้นมา

5. คลิกขวาที่พาร์ทิชั่นที่ 3 เลือก Resize / Move

6. จะเห็นว่ามีพื้นที่ว่างด้านหน้า ให้เราขยายไปได้ และถ้าดูที่ช่อง Free Space Before จะเห็นว่ามีขนาดเท่ากับ ที่เราหดจากพาร์ทิชั่นที่ 2

7. ทำการขยายพาร์ทิชั่นจนเต็มพื้นที่ว่าง โดยการลากตรงขอบซ้ายของแถบสีเขียว หรือจะกำหนดที่ช่อง Free Space Before เป็น 0 ก็ได้ จากนั้นก็คลิกปุ่ม OK


8. กลับมาที่หน้าต่างหลัก จะเห็นว่าพื้นที่ว่างหลังพาร์ทิชั่นที่ 2 หายไปแล้ว และ ขนาดของพาร์ทิชั่นที่ 3 เปลี่ยนเป็น 12,448.8 MB

9. คลิกที่ปุ่ม  หรือ ปุ่ม  เพื่อเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงพาร์ทิชั่น โปรแกรมจะทำการสรุปว่ามีการทำงานกี่ขั้นตอน ถ้าเราไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงก็ให้คลิกปุ่ม Yes ได้เลย แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงอีกก็ให้คลิกที่ปุ่ม No เพื่อกลับไปหน้าจอหลักอีกครั้ง


หมายเหตุ

  1. เราสามารถใช้ปุ่ม  เพื่อยกเลิกการทำงานทั้งหมดได้
  2. ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงพาร์ทิชั่นที่บรรจุโปรแกรมวินโดว์ โปรแกรมจะต้องทำการรีบูตก่อน และเข้าสู่ดอสโหมด เพื่อทำการแปลงพาร์ทิชั่น ก่อนที่จะรีบูตอีกครั้ง เพื่อเข้าวินโดว์
  3. ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงพาร์ทิชั่น ถ้าเกิดไฟฟ้าดับ อาจทำให้ข้อมูลที่อยู่ในพาร์ทิชั่นนั้นเสียหาย



โปรแกรม Ghost



คือ การโคลนฮาร์ดดิสก์ โดยการโคลน (clone ) นี้สามารถ ก็อปปี้รูปแบบพาร์ทิชั่น ขนาดพาร์ทิชั่น ข้อมูลในพาร์ทิชั่นทั้งหมดลงในฮาร์ดดิสก์อีกตัวหนึ่ง ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการ GHOST เช่น Norton Ghost , Symantec Backup Exec System Recovery เป็นต้น ประโยชน์ของการ โคลนฮาร์ดดิสก์ไว้ก็ เช่น หากเราโดน virus เล่นงานหรือจะเสียโดยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ เราก็สามารถนำ Windows ตัวเก่ากลับมาใช้ได้โดยใช้โปรแกรม Ghost นี้ แต่บางที Ghostแล้วโปรแกรมบางตัวจะใช้ไม่ค่อยได้ ลงโปรแกรมใหม่แล้วก้ไม่ทำงาน ต้องลง Windows สถานเดียว 
ประโยชน์ของ GHOST
1.ใช้ backup OS ได้
2.ใช้ copy OS ไปได้หลายๆเครื่อง(ไม่ต้องมานั่งลง Windows หลายๆเครื่อง)
3.ใช้ copy เฉพาะ Partition ตามที่เราต้องการ
4.ใช้ backup OS ผ่านระบบ LAN (ไม่ใช่ตัวที่อยู่ใน Hiren's Boot CD)
แต่มีข้อเสีย คือหากระบบที่เราทำการ  GHOST เก็บไว้นั้นมี Bug / virus หรือข้อผิดพลาดอะไรก็ตาม สิ่งเหล่านั้นก็จะติดมาด้วย


การโคลนทั้งฮาร์ดดิกส์

ขั้นแรก ก่อนจะดำเนินการโคลน แนะนำให้สแกนฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่หา Bad ให้เรียบร้อย ถ้าเจอขึ้นมาจะได้เอาไปเคลมเลย งานนี้ก็ใช้ WD Data LifeGuard Dianostics 

ขั้นต่อมา ก็คือ เปิด Acronis True Image WD Edition แล้วเลือก Clone disk 

ขั้นที่ 3 จะมีหน้าต่างถามโหมดการโคลนว่า Atomatic หรือ Manual 


ขั้นที่ 4 เลือกฮาร์ดิสก์ตัวต้นฉบับ


ขั้นที่ 5 ระบุฮาร์ดดิสก์ปลายทาง ถ้ามีฮาร์ดดิสก์อยู่ในเครื่องมากกว่า 2 ตัว 


ขั้นที่ 6 เลือกวิธีย้ายข้อมูล โดยจะแบ่งเป็น ...
  • As is - จะคงขนาดพาร์ติชั่นทั้งหมดไว้เท่าเดิม หากมีที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่เหลือ ก็จะถูกทำเป็น Unallocated Partition
  • Proportional - จะปรับขนาดพาร์ติชั่นให้โดยอัตโนมัติ (ในขั้นที่ 3 ถ้าเลือก Automatic ก็จะเป็นตัวเลือกนี้) เช่น ถ้าฮาร์ดดิสก์ปลายทางมีขนาด 2 เท่า ทุกพาร์ติชั่นก็จะใหญ่ขึ้น 2 เท่าตามไปด้วย
  • Manual - ปรับขนาดเอง

ขั้นที่ 6.1 ถ้าเลือก Manual ก็จะมีรายชื่อพาร์ติชั่นขึ้นมาให้ดู และสามารถคลิกขวาเลือก Edit เพื่อแก้ขนาดได้ จะเปลี่ยน Label ของพาร์ติชั่นก็ยังได้


ขั้นสุดท้าย จะมีสรุป Before / After ให้เช็คให้แน่ใจอีกที ดูดี ๆ นะ ว่าเลือกอะไรไว้ไม่พลาด มั่นใจแล้วก็กด Proceed


โปรแกรมจะคำนวณสักพัก แล้วก็ขึ้นให้ Restart



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น